ต้นหอม ชื่อวิทยาศาสตร์ ผักกินได้ทั้งใบ ดอกและหัว มีกลิ่นฉุน มีรสชาติเผ็ดร้อน

ต้นหอม 

ชื่ออื่นๆ : หอมแบ่ง, ต้นหอมขาว, หอมต้น, หอมนวล

ต้นกำเนิด :  ทวีปเอเชียกลาง

ชื่อสามัญ : Spring Onion, Green Shallot

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alliumcepa var. aggregatum

ชื่อวงศ์Alliaceae

ลักษณะของต้นหอม

ต้น เป็นพืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน มีสีเขียวมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว อยู่ในสกุลเดียวกับกระเทียม

ต้นหอม
ต้นหอม ลำต้นกลมถูกหุ้มด้วยกาบสีเขียว

ใบ มีลักษณะเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ใบของต้นหอม มีสีเขียว มีกลิ่นฉุนแรง รสชาติเผ็ดร้อน

ใบต้นหอม
ใบต้นหอม ใบสีเขียว เป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง

ดอก  ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยๆ เป็นจำนวนมาก มีดอกสีขาว ก้านช่อดอกยาวกลมข้างในกลวง รองรับช่อดอกไว้

ดอกหอม
ดอกหอม ช่อดอกยาว สีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก

หัว  มีหัวใต้ดิน หัวมีลักษณะทรงกลม หรือทรงกลมรี มีสีขาวหรือสีม่วง ตามสายพันธุ์ มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง ใช้ประกอบปรุงอาหารต่างๆ

หัวหอม
หัวหอม ทรงกลมหรือรี มีสีขาวหรือม่วง ตามสายพันธุ์

ราก  ระบบรากฝอยเล็กๆ สีน้ำตาล ออกด้านล่างของหัว หัวมีลักษณะทรงกลม หรือทรงกลมรี หัวอ่อนมีสีขาวหรือสีม่วง ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นฉุนแรง รสชาติเผ็ดร้อน

รากหัวหอม
รากหัวหอม รากฝอยเล็กๆ สีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของต้นหอม

การเพาะเมล็ด, การแยกหัวออกมาปลูก

ธาตุอาหารหลักที่ต้นหอมต้องการ

ประโยชน์ของต้นหอม

  • เป็นพืชผักสมุนไพร  ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอกและหัว มีกลิ่นฉุน มีรสชาติเผ็ดร้อน เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไป ในหลายประเทศทั่วโลก เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มาแต่โบราณ มีประโยชน์สรรพคุณ ทางยาหลายอย่าง นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู จะรับประทานเป็นผักสด นำมาเป็นเครื่องเคียงและโรยหน้าอาหารได้
  • ต้นหอมมีฟอสฟอรัส มีเบตาแคโรทีน มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีวิตามินบี9 มีคาร์โบไฮเดรต มีพลังงาน มีเส้นใย มีไขมัน มีเหล็ก มีสังกะสี มีฟลูออไรด์ มีแคลเซียม มีน้ำตาล มีโปรตีน มีแมกนีเซียม มีแมงกานีส มีโพแทสเซียม
ต้นหอมใช้โรยหน้าอาหาร
การนำต้นหอมมาโรยหน้าเมนูอาหาร

สรรพคุณทางยาของต้นหอม

  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
  • ช่วยลดไข้ แก้หวัด
  • แก้คัดจมูก
  • แก้น้ำมูกไหล
  • ช่วยป้องกันโรค
  • โลหิตจาง
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยลดกระดูกพรุน
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีเส้นใยอาหาร ช่วยป้องกันอาการท้องผูก
  • ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
  • มีอนุมูลอิสระ มีภูมิคุ้มกันเชื้อโรค

คุณค่าทางโภชนาการของต้นหอม

ต้นหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • ไขมันทั้งหมด 0.2 g
  • ไขมันอิ่มตัว 0 g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 g
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 0 g
  • คอเลสเตอรอล 0 mg
  • โซเดียม 16 mg
  • โพแทสเซียม 276 mg
  • คาร์โบไฮเดรต 7 g
  • ใยอาหาร 2.6 g
  • น้ำตาล 2.3 g
  • โปรตีน 1.8 g
  • วิตามินเอ 997 IU
  • วิตามินซี 18.8 mg
  • แคลเซียม 72 mg
  • เหล็ก 1.5 mg
  • วิตามินดี 0 IU
  • วิตามินบี6 0.1 mg
  • วิตามินบี12 0 µg
  • แมกนีเซียม 20 mg

การแปรรูปของต้นหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9966&SystemType=BEDO
www.opsmoac.go.th, https://adeq.or.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment