ประโยชน์และสรรพคุณของเอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

ชื่ออื่นๆ : เอื้องเพชรม้า, ชู้ไลบ้อง, ชูเลโบ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (ภาคใต้) เอื้องใหญ่, บันไดสวรรค์ (นครศรีธรรมราช) เอื้องต้น (ยะลา)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : เอื้องหมายนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus speciosus (Koen.) Sm.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

เอื้องหมายนา เป็นไม้ล้มลุก ที่มีเหง้าหัวอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 1.5-3 เมตร ลักษณะลำต้นเหนือดินกลม อุ้มน้ำ
ตามลำต้นมีรอยแผลใบโดยรอบ รากจะเป็นหัวใหญ่ยาว ตามบริเวณโคนต้นจะติดหัวแข็งคล้ายไม้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับเป็นเกลียวคล้ายก้นหอย ลักษณะใบรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน โคนใบมน ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนและมีส่วนหุ้มรอบลำต้น ด้านล่างมีขนนุ่มคล้ายเส้นไหม กาบใบอวบ สีเขียวหรือน้ำตาลแดงโอบรอบลำต้น ดอกจะออกดอกเป็นช่อตรงยอด ดอกย่อยจะอยู่รวมกันหนาแน่น ดอกย่อยจะมีกลีบเลี้ยงอยู่ 3 กลีบ เป็นแผ่นแบน ขอบมนเป็นสีม่วงแดง กลีบดอกนั้นจะติดเป็นหลอด ส่วนปลายจะแยกเป็นกลีบสีขาวหรือออกแดงเล็กน้อย ส่วนอีกกลีบหนึ่งจะมีลักษณะคล้ายลิ้น เป็นแผ่นสีขาวตรงกลางสีเหลือง ใบประดับมีสีม่วงแดงรูปไข่ แต่ละใบประดับจะมีดอกอยู่ 1 ดอก ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม

เอื้องหมายนา
เอื้องหมายนา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำ สีแดง

ประโยชน์ของเอื้องหมายนา

  • เป็นดอกไม้ที่นิยมตัดประดับแจกันทั้งต้นที่มีช่อดอก เนื่องจากทั้งต้นและกาบประดับสวยงามแปลกตา นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ประดับอีกด้วย
  • ใช้เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ สมุนไพร
  • หน่ออ่อน รสปร่าขม ใช้เป็นอาหารได้ แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อนเพื่อขจัดกลิ่นให้หมดไป โดยการต้มรับประทานกับน้ำพริกหรือแกง
ดอกเอื้องหมายนา
ดอกเอื้องหมายนา ดอกสีขาว ใจกลางดอกมีสีเหลืองอ่อน

สรรพคุณทางยาของเอื้องหมายนา

รสและสรรพคุณในตำรายา

  • ราก รสขมเมา ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง
  • เหง้า รสขมเมา เผ็ดปร่า ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ตกขาว แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้แผลหนองอักเสบ บวม แก้พยาธิ เป็นยาถ่าย
  • เหง้าสด มีพิษมาก ทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง ดังนั้นต้องทำให้สุกก่อนเสมอ
    (ในเหง้า สารชื่อ Diosgenin ใช้สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน น้ำคั้นเป็นยาระบายรับประทานกับใบพลูแก้ไอ)
  • เหง้า ตำพอกบริเวณสะดือ รักษาโรคท้องมาน ในเหง้าพบสาร diosgenin มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์
  • ใบ รสปร่า แก้ไข้
  • ลำต้นใต้ดินหรือเหง้ามีรสขมเมา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ตกขาว แก้โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แก้แผลหนอง อักเสบ บวม ฆ่าพยาธิ เป็นยาถ่าย เหง้าสดมีพิษมาก ใช้ในปริมาณมากจะทำให้ท้องร่วง อาเจียนอย่างรุนแรง ต้องทำให้สุกก่อน ราก รสขมเมา ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกขาว และแก้โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยใช้เหง้าสดหั่นเป็นแว่นบาง ๆ
    นำไปตากแดดให้แห้ง นำมา 10-15 กรัม ต้มในน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่มวันละ 2 เวลา
    เช้า-เย็น หรืออาจใช้การตุ๋นรวมกับเนื้อสัตว์เพื่อประกอบอาหารรับประทานก็ได้
  •  แก้แผลหนองอักเสบและบวม ใช้เหง้าสด 10-20 กรัม ต้มในน้ำ 500 ซีซี กรองเอาน้ำชะล้างแผล
    หรืออาจจะโขลกเหง้าสดพอกแผลหรือบริเวณที่บวมอักเสบก็ได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11293&SystemType=BEDO
http://www.rspg.or.th
https://www.wirarat.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment