ต้นแค แคบ้าน ยอดอ่อน ดอกอ่อนนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

ต้นแค

ต้นแคบ้าน ชื่อเรียกอื่น แคขาว, แคแดง, แคดอกขาว, ดอกแคแดง, แคดอกแดง, แค, แคบ้าน, ต้นแค, แคบ้านดอกแดง, ดอกแคบ้าน, แคแกง ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania grandiflora (L.) Pers.  อยู่ในวงค์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอกมีสีขาวหรือสีแดง มีกลิ่นหอม คนไทยนิยมกินคือ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และฝักอ่อน ยอดอ่อน มารับประทานเป็นผัก

ดอกแค
ดอกแค ดอกสีขาว

ประโยชน์ของต้นแค

คนไทยนิยมกินคือ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และฝักอ่อน ยอดอ่อน โดยคนไทยทุกภาคกินแคเป็นผักและมักปลูกแคไว้ตามรั้วบ้านหรือสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกแค และฝักอ่อน นิยมลวกน้ำร้อนใช้กินร่วมกับน้ำพริกกะปิหรือน้ำพริกปลาร้า ดอกอ่อนนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้มดอกแค แกงจืดดอกแค ดอกแคผัดหมูหรือกุ้ง และดอกแคชุบแป้งทอดกินกับน้ำพริก ทั้งนี้มักจะเอา เกสรตัวผู้ออกจากดอกแคก่อนใช้ประกอบอาหารเพื่อลดความขม ส่วนชาวอีสานนิยมนำดอกและยอดอ่อนมานึ่ง หรือย่าง กินร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย และนำดอกแคมาปรุงอาหารประเภทอ่อมได้อีกด้วย

สรรพคุณทางยาของต้นแค

  • ใบ – ช่วยในการแก้ไข้หวัดและถอนพิษไข้ แก้ไข้เปลี่ยนฤดู ตลอดจนช่วยดับพิษ และถอนพิษ ให้รสจืดมัน
  • ดอก – ช่วยแก้อาการไข้เปลี่ยนฤดู ให้รสหวานเย็น แก้ไข้หัวลมรักษาโรคริดสีดวงในจมูกแก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
  • เปลือกต้น – ช่วยในการคุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ตลอดจนช่วยชะล้างบาดแผล และช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอก ให้รสฝาด
  • ยอดอ่อน แก้ไข้หัวลม เป็นยาระบาย ช่วยถอนพิษไข้และทาแก้ช้ำบวม
  • ราก เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการอักเสบ
  • ใบสด เป็นยาระบาย แก้ช้ำชอก
  • ยอดแค อุดมไปด้วยวิตามินซึ่งมีส่วนช่วยต่อต้านและยับยั้งมะเร็ง เพราะมีสารที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดอ่อน)
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันและรักษาอาการหวัด (ดอก)
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ (ใบสด, ดอกโตเต็มที่)
  • ช่วยคุมธาตุในร่างกาย (เปลือกต้น)
  • ช่วยในเรื่องความจำ ป้องกันการเกิดเนื้องอก บรรเทาอาการไข้ ปวด โลหิตจาง ด้วยการใช้ฝักแคสด 20 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 30 นาที กรองเอาฝักออก นำมาดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (ในประเทศอินเดีย) (ฝัก)
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากมีเบตาแคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ (ดอก, ยอดแค)
  • ช่วยแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน ด้วยการใช้ใบสด 20 กรัม เทน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วกรองเอาใบแคออก นำมาดื่มแก้อาการ (ในประเทศอินเดีย) (ใบ)
  • ช่วยบำรุงและเสริมสร้างกระดูกและฟัน เนื่องจากอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส (ดอก, ยอดแค)
  • ดอกแคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วยแก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู ด้วยการใช้ดอกหรือใบนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ดอกที่โตเต็มที่นำมาล้างน้ำ แล้วต้มกับหมูทำหมูบะช่อ 1 ชาม แล้วรับประทานวันละ 1 มื้อ ติดต่อกัน 3-7 วัน อาการก็จะดีขึ้น (ดอก)
  • น้ำคั้นจากรากใช้ผสมกับน้ำผึ้ง ใช้ดื่มก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ในช่วงเช้า กลางวัน และก่อนนอน ใช้เป็นยาขับเสมหะ ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้ไข้ลมหัวได้ (ราก)
  • ช่วยรักษาปากเป็นแผล แก้อาการร้อนในจนปากลิ้นเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแคชั้นในสุดที่มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ นำมาเคี้ยว 3-5 นาทีแล้วคายทิ้ง ทำวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 3 วันก็จะหายจากอาการ (เปลือกแค)

คุณค่าทางโภชนาการของต้นแค

สารอาหารสำคัญมีฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ซี บี1 บี2 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และใยอาหาร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9610&SystemType=BEDO
https:// pstip.cc
https://www.flickr.com

Add a Comment