ต้างหลวง ดอกมีรสขมอมฝาดเล็กน้อย เมื่อทำให้สุกจะมีรสหวานออกขม

ต้างหลวง

ชื่ออื่นๆ : ต้างป่า, ต้างผา (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน-เอเชียเขตอบอุ่น

ชื่อสามัญ : Snow flake tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Revesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.

ชื่อวงศ์ : ARALIACEAE

ลักษณะของต้างหลวง

ต้น ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นมีหนามแข็งปกคลุม  เปลือกสีน้ำตาล มีหนามแหลมตามลำต้น

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบโดยภาพรวมรูปกลม เว้าแบ่งเป็นพู 5-9 พู คล้ายรูปฝ่ามือ ขนาด 30-60 เซนติเมตร มีแผ่นใบเชื่อมกันบริเวณฐานใบคล้ายผังพืด ปลายพูเรียวแหลม ขอบหยักซี่ฟันเล็กๆ

ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจะ ช่อย่อยแบบซี่ร่ม ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบใกล้ยอด กลีบเลี้ยง เป็นซี่เล็กแหลม กลีบดอก 8-12 กลีบ เชื่อมกันบางส่วน เกสรเพศผู้ 8-12 อัน เกสรเพศเมียมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ออกช่วง กุมภาพันธ์-เมษายน

ผล ผลรูปกลม มีเนื้อบาง เมล็ดแบน

ต้นต้างหลวง
ต้นต้างหลวง มีหนามแหลมตามลำต้น
ใบต้างหลวง
ใบต้างหลวง เว้าแบ่งเป็นพู 5-9 พู คล้ายรูปฝ่ามือ

การขยายพันธุ์ของต้างหลวง

ใชเมล็ด, แยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ต้างหลวงต้องการ

ประโยชน์ของต้างหลวง

ดอก มีรสขมอมฝาดเล็กน้อย เมื่อทำให้สุกจะมีรสหวานออกขม ดอกตูม ยอดอ่อน ผล ต้มหรือแกงกินเป็นอาหาร ดอกตูมต้มเป็นผักจิ้ม รับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงแค แกงปลาแห้ง

ดอกต้างหลวง
ดอกต้างหลวง ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม

สรรพคุณทางยาของต้างหลวง

ดอก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบาย

คุณค่าทางโภชนาการของต้างหลวง

การแปรรูปของต้างหลวง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9930&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment