ถั่วฝักยาว ไม้เถาเลื้อย ใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู

ถั่วฝักยาว ไม้เถาเลื้อย ใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู

ชื่ออื่นๆ : ภาคกลางเรียกว่า ถั่วขาว ถั่วนา ถั่วฝักยาว ภาคเหนือเรียกว่า ถั่วดอก ถั่วปี ถั่วหลา

ต้นกำเนิด : ประเทศจีนและอินเดีย

ชื่อสามัญ : Yard long Bean.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ถั่วฝักยาว ไม้เถาเลื้อย ใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู
ถั่วฝักยาว

ลักษณะของถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว ลักษณะเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์
โดยเมล็ด
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ฝักอ่อน ใบ เมล็ด ราก
สารเคมีและสารอาหารสำคัญ

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้
ใบ ใช้ต้มน้ำกินรักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
ฝัก เปลือกฝักตำพอกบริเวณที่บวม ปวดเอว แผลที่เต้านม และเป็นยาระงับปวด
เมล็ด ใช้ได้ทั้งแห้งและสด ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงม้าม ไต ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก นำมาตำพอกหรือบดละเอียด รักษาโรคหนองใน รักษาบิด บำรุงม้าม

การขยายพันธุ์ของถั่วฝักยาว

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถั่วฝักยาวต้องการ

ประโยชน์ของถั่วฝักยาว

ฝักของถั่วฝักยาวใช้รับประทานทั้งดิบและสุก เหมาะที่จะรับประทานเมื่อยังอ่อน

สรรพคุณทางยาของถั่วฝักยาว

ใบถั่วฝักยาว ช่วยแก้โรคปัสสาวะพิการ และแก้โรคหนองใน ให้รสเฝื่อน
เปลือกผักถั่วฝักยาว ช่วยรักษาแผลที่เต้านม ช่วยในการระงับอาการปวด รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดเอว และแก้อาการบวมน้ำ ให้รสฝาดหวาน
เมล็ดถั่วฝักยาว ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ แก้อาการตกขาว รวมทั้งช่วยแก้การอาเจียน แก้โรคบิด ตลอดจนช่วยบำรุงม้ามและไต ให้รสหวานมัน
รากถั่วฝักยาว ช่วยแก้โรคหนองใน แก้โรคบิด ช่วยให้เจริญอาหาร ตลอดจนช่วยบำรุงม้าม และนำมาตำสำหรับพอกฝี ให้รสเฝื่อนมัน

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาว

  • ข้อมูลโภชนาการ ถั่วฝักยาว ปริมาณต่อ 100 g แคลอรี (kcal) 47
  • ไขมันทั้งหมด 0.4 g
  • ไขมันอิ่มตัว 0.1 g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.2 g
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 g
  • คอเลสเตอรอล 0 mg
  • โซเดียม 4 mg
  • โพแทสเซียม 240 mg
  • คาร์โบไฮเดรต 8 g
  • โปรตีน 2.8 g
  • วิตามินเอ 865 IU
  • วิตามินซี 18.8 mg
  • แคลเซียม 50 mg
  • เหล็ก 0.5 mg
  • วิตามินดี 0 IU
  • วิตามินบี6 0 mg
  • วิตามินบี12 0 µg
  • แมกนีเซียม 44 mg

การแปรรูปของถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวสามารถนำมาแปรรูปอาหารได้หลากหลาย เช่น ถั่วฝักยาวผัดพริกแกง เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับถั่วฝักยาว

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.nanagarden.com,

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment