ถั่วพู ฝักอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก

ถั่วพู

ชื่ออื่นๆ : ถั่วพูจีน, ถั่วพูใหญ่, ถั่วพูตะข้าง, บอน่ะปะหลี

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Winged Bean

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus Linn.

ชื่อวงศ์ : Leguminpsae.

ลักษณะของถั่วพู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถั่วพูเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยได้ ใบออกจากลำต้นแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบรูปร่างคล้ายไข่ป้อม ปลายและขอบใบแหลม ดอกเป็นดอกย่อยสีขาวอมม่วง ผลเป็นผักแบนยาวมี 4 ปีก ตามความยาวของฝัก ฝักยาวประมาณ 3- 4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบเป็นมัน สีขาว น้ำตาลดำ หรือเป็นจุด รากออกเป็นหัวมีปมอยู่ใต้ดินแต่ละปมมีขนาดใหญ่

ต้นถั่วพู
พืชล้มลุก ลำต้นมีลักษณะเป็นเถายาวเลื้อย

การขยายพันธุ์ของถั่วพู

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถั่วพูต้องการ

ประโยชน์ของถั่วพู

ฝักอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน กินเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ทำเป็นยำถั่วพู หรือนำไปลวกน้ำกระทิ ผัดกับน้ำมัน หั่นใส่แกงเผ็ด แกงไตปลา หรือทอดมันก็ได้

ถั่วพู
ฝักแบนยาว มีครีบหรือปีก 4 ด้านตามยาว

สรรพคุณทางยาของถั่วพู

  • หัว นำมาตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย
  • ฝักอ่อน บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก
  • ใบ แก้อาเจียน
  • ราก ใช้รักษาอาการปวดมวนท้อง รักษาโรคลมพิษกำเริบ

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วพู

ถั่วพู หนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วย

  • น้ำ  93.8 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม
  • โปรตีน 2.1 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • เส้นใย 1.2 กรัม
  • แคลเซียม 5 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

การแปรรูปของถั่วพู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11508&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment