ถั่วแปบ หรือ มะแปบ ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร และปลูกเพื่อบำรุงรักษาดิน

ถั่วแปบ

ชื่ออื่นๆ : ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : แถบร้อนของทวีปเอเชีย  รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichos lablab L.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ลักษณะของถั่วแปบ

เป็นพืชล้มลุกเลื้อยพันซึ่งมีอายุได้หลายปี  ลำต้นบิด มีขนเล็กน้อย สูงประมาณ 1.5 เมตร – 3 เมตร บางพันธ์อาจสูงได้ถึงประมาณ 9 เมตร ลักษณะของใบ เป็นใบประกอบ 3 ใบ คล้ายรูปไข่ปลายเรียวแหลม ดอกมี 2 ชนิดคือ ชนิดดอกสีขาว และชนิดดอกสีม่วง เมล็ดอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นสีดำเมื่อแก่จัด

ถั่วแปบ
ถั่วแปบ ลำต้นเลื้อยมีขนเล็กน้อย ดอกสีม่วง

การขยายพันธุ์ของถั่วแปบ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถั่วแปบต้องการ

ประโยชน์ของถั่วแปบ

  • ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม ผักลวกจิ้มกับน้ำพริก
  • ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้
  • ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์
  • ปลูกเป็นพืชสำหรับทำปุ๋ย หรือเป็นพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
ผลหรือฝักถั่วแปบ
ผลหรือฝักถั่วแปบ สีเขียว

สรรพคุณทางยาของถั่วแปบ

  • ฝัก ช่วยแก้อาการไข้และอ่อนเพลีย รวมทั้งบำรุงกำลังให้แก่ร่างกาย ให้รสหวานมัน
  • เมล็ด  ช่วยในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง รวมทั้งช่วยแก้ไข้ แก้โรคตา และแก้เสมหะ ให้รสหวานมัน

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วแปบ

ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้สารอาหารทางโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรต (กลูโคส กาแลกโทส และกลูตามิเนส) ไขมันชนิดฟอสฟาไทด์ แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี รวมไปถึงวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี กรดแพนโรทีนิค

ถั่วแปบยังพบว่ามีสาร ไฟโตฮีแมคกลูตินิน (Phytohemagglutinine) ที่ช่วยในการเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ลำต้นของถั่วแปบยังพบว่ามีสารแคโรทีน หรือบีตา-แคโรทีน และสาร ลูเทียน (Lutein) ในส่วนของรากถั่วแปบมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง และกรดอะมิโนแยกอิสระอีกหลายชนิด จึงเหมาะแก่การปลูกถั่วแปบเพื่อบำรุงรักษาดิน

การแปรรูปของถั่วแปบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11397&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment