ทะโล้ ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน

ทะโล้

ชื่ออื่นๆ : สารภีดอย, คายโซ่, กะโซ้, มังกะตาล, มังตาน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schima wallichii choisy

ชื่อวงศ์ : THEACEAE

ลักษณะของทะโล้

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูงประมาณ 15-25 เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นได้ถึง 1.5 เมตร เปลือกนอกขรุขระแลมักแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีทาปนน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เป็นพิษต่อผิวหนัง

ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกตามปลายกิ่งสลับกันไปและมักติดเป็นกระจุกตามปลายๆกิ่ง โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือบางที่หยักตื้นๆตามขอบ หลังใบมักมีสีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนขึ้นประปราย

ดอก สีขาวหรือขาวนวล ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลิ่นหอม ก้านดอกยาว กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีจำนวนเท่ากันอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกล่างมักเล็กกว่ากลีบอื่น เกสรผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง เกสรเมียมีอันเดียวสั้น

ผล ผลค่อนข้างกลม ผิวแข็งโตประมาณ 2.5-3 ซม. เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกตามรอยประสาน เป็น 4-5 เสี่ยง แต่ละส่วนมีเมล็ด 4-5 เมล็ด

ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ

การขยายพันธุ์ของทะโล้

เพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ทะโล้ต้องการ

ประโยชน์ของทะโล้

  • ขี้เทาจากเปลือกให้สีเทาใช้เป็นสีผสมอาหาร
  • เนื้อไม้สีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนทำพื้น ฝาและกระดานได้ดี
  • ไม้ดอกไม้ประดับ
ดอกทะโล้
ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของทะโล้

คุณค่าทางโภชนาการของทะโล้

การแปรรูปของทะโล้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9514&SystemType=BEDO
https://www.qsbg.org/Database/BOTANIC_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=812
https://www.flickr.com

Add a Comment