นนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน นนทบุรี

นนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน นนทบุรี

ชื่ออื่นๆ : กระถินแดง (ตราด) กระถินป่า (ตราด, สุโขทัย) และสารเงิน (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด : อินเดีย

ชื่อสามัญ : Copper pod , Yellow flame

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer ex K. Heyne

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE- CAESALPINIOIDEAE

นนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน นนทบุรี
ต้นนนทรี

ลักษณะของนนทรี

ทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง สูง 8-15 เมตร ชอบขึ้นตามป่าชายหาด เปลือกสีเทาค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป เรือนยอดเป็นรูปร่มหรือทรงกลมกลายๆ ตามกิ่งและก้านอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ใบ เป็นช่อเรียงสลับเวียนกันถี่ๆ ตามปลายกิ่งดูเป็นกลุ่ม ช่อหนึ่ง ยาว 20-27 ซม. ประกอบด้วยแขนงใบย่อยที่ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ 9-13 คู่ แขนงย่อยคู่ต้นๆ จะสั้นกว่าคู่ที่ถัดไป แต่คู่ที่อยู่ที่ปลายช่อก็จะสั้นเช่นกัน ใบย่อยเล็กรูปร่างคล้ายเมล็ดข้าวสารแบนๆ กว้างประมาณ 5 มม. ยาว 10-15 มม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบทู่ๆ หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ โคนก้านใบ ก้านแขนงย่อย และก้านช่อบวม หูใบเป็นเส้นเรียว ดอก สีเหลืองออกเป็นช่อตั้งตรง ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านแขนงมาก อยู่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายๆ กิ่ง ยาว 20-30 ซม. กลีบดอกป้อมบางและยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลประปราย เกสรผู้มี 10 อัน ผล เป็นฝักแบนๆ รูปรี ปลายและโคนสอบแหลม กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 5-12 ซม. สีน้ำตาลอมม่วง เมื่อแก่จัดจนแห้งเป็นเป็นสีน้ำตาลดำ แต่ละฝักมี 1-4 เมล็ด เมล็ดแข็งแรงรูปร่างและขนาดเท่าใบย่อย เรียงตามยาวของฝัก ผลแก่ในเดือนพฤศจิกายน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

เป็นดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา นนทบุรี พิษณุโลก ต้นนนทรีที่ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ เป็นต้นไม้ที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นต้นนนทรีที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ขณะนี้ต้นนนทรีนี้สูงประมาณ 22 ม. ทรงต้นสวยงาม หากสนใจที่จะชมต้นนนทรีนี้อย่าลืมแวะมาเยี่ยมกันนะ เปลือกต้น รสฝาดร้อน แก้ท้องร่วง ขับผายผม ขับโลหิต
เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ตามประวัติดังนี้

ในปี พ.ศ. 2506 ทางสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 และมีมติให้อาจารย์อัญเชิญ ชมภูโพธิ์ หัวหน้าภาควิชาพืชศาสตร์ อาจารย์ปวิณ ปุณศรี อาจารย์แสงธรรม คมกฤส และอาจารย์เจือ สุทธิวนิช เป็นอนุกรรมการพิจารณาหาต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมาเสนอ ต่อมาในการประชุมของสมาคม เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 คณะอนุกรรมการได้เสนอต้นไม้ 4 ชนิด คือ นนทรี ทองกวาว ราชพฤกษ์ (คูน) และพิกุล และที่ประชุมได้ตกลงเลือกเอาต้นนนทรี เพราะเป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืน มีใบสีเขียวแก่ อันหมายถึง สีเขียวขจีของเกษตร และมีใบสีเหลืองทองและดอกสีเหลือง อันหมายถึงสีเหลืองของคณะเกษตร อันปรากฏอยู่ในคำกราบบังคมทูลของคุณหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปดังนี้คือ “ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานในทุกสภาพอากาศของเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่า นิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถจะทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย”

สกุลของนนทรี (Peltophorum) นั้นได้มาจากภาษากรีก หมายถึง (Sheld-bearing) ซึ่งหมายถึง ฝักของมันมีรูปทรงเหมือนโล่ ส่วนชื่อพ้องของนนทรีอีกชื่อคือ P. ferrugineum นั้นหมายถึงมีฝักเป็นสีสนิมเหล็กนับว่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อเสียงมีความหมายชัดเจนที่สุดชนิดหนึ่งภายใต้สภาพธรรมชาติของป่าเขา ต้นนนทรีจะผลัดใบทิ้งลงเป็นบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมดต้นทีเดียว ดังนั้นเราจึงอาจเรียกนนทรีได้ว่าเป็นไม้กิ่งผลัดใบน่าจะเหมาะสมกว่าเป็นไม้ผลัดใบแห้ง ลำต้นของมันแข็งแรง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ดูงดงาม ชูกิ่งก้านสาขาแผ่เรือนยอดสู่เบื้องบน ยามเช้าฤดูหนาวเรามักจะไม่ค่อยได้เห็นใบนนทรีกันสักเท่าใดนัก เพราะมันจะร่วงลงมามาก ใบอ่อนจะแตกออกมาในช่วงเดือนมีนาคม พร้อมทั้งออกดอกสีเหลืองทองอร่ามไปทั้งต้นใบของนนทรีดูเผินๆ คล้ายใบต้นหางนกยูงหรือกระถิน แต่ใบย่อยจะมีขนาดใหญ่กว่า และเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อเล็กหรือใหญ่ต่างขนาดกันไป ก้านช่อดอกมีสีน้ำตาลเคลือบสีสนิมเหล็กปกคลุม เช่นเดียวกับกลีบหุ้มดอกชั้นนอก กลีบดอกภายในสีเหลืองสดงดงามตา นนทรีนั้นเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ออสเตรเลีย หากได้รับการตัดแต่งกิ่งดูแลให้ตามควรแล้วจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากจนมีผู้นำไปปลูกประดับทั้งในสวนและตามริมถนนใหญ่หลายสาย ให้ทั้งร่มเงาและให้ทั้งความสวยงามของดอก

นนทรี ดอกไม้ประจำจังหวัด ฉะเชิงเทรา พิษณุโลก พันธุ์ไม้มงคลพระราชทาน นนทบุรี
ดอกนนทรี

การขยายพันธุ์ของนนทรี

ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด นนทรีมีศัตรูพืชมากมายหลายชนิด, แต่ชนิดที่มีความสำคัญในขณะนี้ คือ หนอนผีเสื้อกินใบชนิด Pericyma cruegeri Butler ซึ่งจะสามารถพบได้ทุกท้องที่ที่มีการปลูกนนทรี, หางนกยูงฝรั่ง, และสีเสียดแก่น เพราะเป็นศัตรูพืชชนิดเดียวที่มีการระบาดได้ง่าย และการระบาดมีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลงอย่างมาก จนบางครั้ง อาจทำให้ประสบกับความล้มเหลวในการปลูกสร้างเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นนทรี ซึ่งนอกจากมีการปลูกสร้างเป็นสวนป่าแล้ว ยังมีการปลูกไว้ประดับตามบ้านเรือน มหาวิทยาลัย และวัดต่างๆ ถ้ามีการระบาดของหนอนผีเสื้อดังกล่าว จะทำให้ต้นนนทรีใบโกร๋น เกิดความไม่น่าดูต่อสถานที่ นอกจากนี้ แมลงศัตรูอื่น ๆ เช่น ประเภทเจาะต้นหรือกิ่ง ก็มีความสำคัญเช่นกัน ฉะนั้นการหมั่นตรวจหา และดูแลจัดการกับศัตรูเหล่านี้จึงมีความสำคัญมาก ถ้าสามารถจัดการไม่ให้มีการระบาดเกิดขึ้น ก็จะมีผลทำให้การปลูกสร้างสวนป่านนทรีประสบความสำเร็จ

ธาตุอาหารหลักที่นนทรีต้องการ

ประโยชน์ของนนทรี

  • ประโยชน์ : ประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดถึงนั้นก็คือเปลือก เปลือกต้นนนทรีนั้น เมื่อนำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกในเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้เปลือกนนทรียังมีขายกันในร้านสมุนไพรในเกาะชวาด้วย เพราะเป็นแหล่งที่มาของแทนนิน ใช้รักษษโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน เปลือก มีรสรับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้าง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องเรือน และหีบใส่ของ มีผู้ปลูกเป็นไม้ประดับกันมากเพราะพุ่มใบและดอกสวยงาม
  • เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้าง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องเรือน และหีบใส่ของ
  • รากให้สีน้ำตาล ใช้พิมพ์ผ้าปาเต๊ะ ย้อมอวนและแห
  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนนทบุรี ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของนนทรี

  • เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน ถึงน้ำตาลแกมชมพู เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรงหรือเป็นคลื่นบ้าง เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องเรือน และหีบใส่ของ
  • เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับโลหิต กล่อมเสมหะและโลหิต กับใช้เป็นยาขับลม ผายลม แก้ท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของนนทรี

การแปรรูปของนนทรี

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับนนทรี

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : th.wikipedia.org, flickr.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment