สะแกแสง ดอกมีกลิ่นหอมเย็น นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

สะแกแสง

ชื่ออื่นๆ : แกนแซง (อุตรดิตถ์) , เก้าโป้ง, งุ้นสะบันนา (เชียงใหม่) , เฝิง (เพชรบูรณ์) , ราบ (สุราษฎร์ธานี) , เนา (ภาคเหนือ) , หำฮอก, หำอาว (นครราชสีมา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : สะแกแสง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canango latifolia Finet & Gagnep.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของสะแกแสง

ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ผลัดใบในฤดูแล้ง เรือนยอดโปร่ง กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเทา ตามกิ่งมีรอยแผลของก้านใบที่หลุดร่วงชัดเจน

ใบ รูปไข่ มนป้อม กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-18 ซม. โคนใบมนหรือหยักเว้า ปลายใบมนหรือเป็นติ่งสั้นๆ ใบด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง เส้นกลางใบด้านบนเป็นร่องและด่านล่างเป็นสัน มีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบมี 8-12 คู่ ปลายเส้นไม่จรดกัน ก้านใบยาว 1 ซม.

ดอก เดี่ยว หรือเป็นกระจุกใต้โคนก้านใบ ดอกห้อยลง ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว ก้านดอกยาว 2 ซม.มีใบรูปประดับรูปรี กว้าง 7 มม. ยาว 1.5 ซม. ติดอยู่ที่โคนก้านดอก กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม กว้างและยาว 1 ซม. ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกรูปหอก โคนกลีบคอดเรียงเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบมีขนาดเท่ากัน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. และมีขนหนาแน่นทั้งสองด้าน

ผล กลุ่ม ก้านช่อผลยาว 3 ซม. มีผลย่อย 20-25 ผล ผลกลมรี กว่าง 1-1.3 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ แต่ละผลมีเมล็ดจำนวนมาก

สะแกแสง
สะแกแสง ดอกสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของสะแกแสง

ใช้เมล็ด/พบในพม่า ไทย และอินโดจีน ตามป่าเบญจพรรณในที่ชื้น มักขึ้นอยู่ไม่ไกล ลำห้วย ออกดอกและติดผลช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม

ธาตุอาหารหลักที่สะแกแสงต้องการ

ประโยชน์ของสะแกแสง

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้โตเร็ว ดอกมีกลิ่นหอมเย็น
  • เนื้อไม้ สีเทา เสี้ยนตรง อ่อน เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยผ่าไสกบตบแต่งง่าย นิยมทำหีบ รองเท้าไม้ และแบบเทคอนกรีต ทาง

สรรพคุณทางยาของสะแกแสง

รากและเนื้อไม้ ซึ่งมีรสเบื่อเมาใช้แก้พิษไข้เซื่องซึมและพิษกาฬทั้งปวง

คุณค่าทางโภชนาการของสะแกแสง

การแปรรูปของสะแกแสง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11854&SystemType=BEDO
http://www.qsbg.org

Add a Comment