บอนแบ้ว ไม้ล้มลุกมีหัวอยู่ใต้ดิน

บอนแบ้ว

ชื่ออื่นๆ : ตะพิดป่า (พังงา) บอนแบ้ว (เหนือ) บอนคอย (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Dwarf voodoo lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typhonium roxburghii Schott

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของบอนแบ้ว

ต้น ไม้ล้มลุก สูง 10–40 ซม. มีหัวใต้ดิน

ใบ ใบรูปสามเหลี่ยมคล้ายไตหรือแยก 3 พู ยาว 5–17 ซม. ก้านใบยาว 10–35 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกหลังผลิใบ มีกลิ่นเหม็น ก้านช่อยาว 2–9 ซม. กาบยาว 8–18 ซม. กาบล่างรูปไข่ ยาว 2–3.5 ซม. ด้านในสีม่วงอมน้ำตาลแดง ด้านนอกสีน้ำตาลอมเขียว โคนบิดม้วนโอบรอบช่อ ปลายกาบคอดเรียวยาว บิดเวียนเล็กน้อย ยาว 6–15 ซม.

ดอก ช่อดอกยาวเท่า ๆ กาบล่าง ช่วงดอกเพศผู้ยาว 0.7–1.2 ซม. ดอกเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศผู้ 2–3 อัน สีเหลืองครีม อับเรณูไร้ก้าน ช่องเปิดที่ปลาย ปลายช่อเป็นรยางค์รูปกรวย สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม ยาว 12–15 ซม. โคนเส้นผ่านศูนย์กลาง 3–4 มม. ช่วงดอกเพศเมียยาวประมาณ 5 มม. รังไข่สีขาวครีม ยอดเกสรเพศเมียสีม่วง ช่วงที่เป็นหมันยาว 1.5–2.2 ซม. เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันหนาแน่น โค้งลง สีครีมหรือเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 8–9 มม. ช่อผลมีโคนกาบหุ้ม ช่อแก่กาบเปิดออก

ผล ผลสดมีเมล็ดเดียว รูปรีหรือรูปไข่ ผลแก่สีขาว

บอนแบ้ว
บอนแบ้ว มีหัวใต้ดิน  ใบรูปสามเหลี่ยมคล้ายไต
ช่อบอนแบ้ว
ช่อบอนแบ้ว ช่อดอกมีกาบ สีม่วงอมน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ของบอนแบ้ว

แยกหัว

ธาตุอาหารหลักที่บอนแบ้วต้องการ

ประโยชน์ของบอนแบ้ว

  • ก้านใบนำมาลอกเอาเปลือกออก นำมาใช้แกงส้มแบบเดียวกับแกงอุตพิด
  • ใบนำมาหั่นให้ละเอียด ใช้ดองกินเป็นผักได้

สรรพคุณทางยาของบอนแบ้ว

รากมีฤทธิ์เป็นยาช่วยกระตุ้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร

คุณค่าทางโภชนาการของบอนแบ้ว

การแปรรูปของบอนแบ้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10663&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment