บักค้อ หมากค้อ เนื้อสีเหลืองใส รสเปรี้ยว ผลกินเป็นยาระบาย

บักค้อ

ชื่ออื่นๆ : กาซ้อง, คอส้ม (เลย) เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก) ค้อ (กาญจนบุรี) เคาะจ้ก, มะเคาะ, มะจ้ก, มะโจ้ก (ภาคเหนือ) ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง) ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กาซ้อ, คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ปั้นรั้ว (เขมร-สุรินทร์) ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์) บักค้อ, ตะค้อ, หมากค้อ เป็นต้น

ต้นกำเนิด : กระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : ตะคร้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schleichera oleosa (Lour.) Oken

ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะของบักค้อ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบออกเป็นคู่ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบย่อยติดเรียงตรงข้ามหรืออาจเยื้องกันเล็กน้อยประมาณ 1-4 คู่ โดยใบคู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยัก มีหางสั้น ๆ หรือติ่งสั้น ๆ โคนใบมนหรือสอบและมักเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนาเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีประมาณ 8-16 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบย่อยจะสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยใบอ่อนมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ

ดอก ออกดอกเป็นช่อปลายยอดหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และช่อดอกมีลักษณะเป็นพวงแบบหางกระรอกห้อยลง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงหรือกลีบรวมมีขนาดเล็กมาก มีแฉกแหลม 5 แฉก ดอกไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ประมาณ 6-8 ก้าน ส่วนรังไข่มีลักษณะกลมและมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 ออวุล เกสรเพศเมียส่วนปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ผล ผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยแหลมและแข็ง เปลือกผลหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวผลเกลี้ยงเป็นสีเขียวอมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดใสสีเหลือง ลักษณะฉ่ำน้ำ และมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม

ต้นบักค้อ
ต้นบักค้อ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา
ผลบักค้อ
ผลบักค้อ ทรงกลม เปลือกหนาคล้ายแผ่นหนัง

การขยายพันธุ์ของบักค้อ

การเพาะเมล็ด

โดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่บักค้อต้องการ

ประโยชน์ของบักค้อ

  • เนื้อไม้ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ ทำฟืนและถ่าน
  • เปลือก ใช้ย้อมสี
  • ใบอ่อน กินเป็นผัก
  • ผลกินเป็นยาระบาย
ผลบักค้อแกะแล้ว
เนื้อในสีเหลืองใส ฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว

สรรพคุณทางยาของบักค้อ

  • เปลือกต้น เป็นยาสมานท้อ
  • ราก เปลือกราก หรือทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้กษัย
  • ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำแล้วนำมาเช็ดตัว

คุณค่าทางโภชนาการของบักค้อ

การแปรรูปของบักค้อ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12137&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment