บานเย็น เป็นไม้ประดับทั่วไปหรือปลูกเป็นไม้คลุมดิน

บานเย็น

ชื่ออื่นๆ : บานเย็น (ทั่วไป) จำยาม, จันยาม, ตามยาม (ภาคเหนือ) ตีต้าเช่า (จีน) จีปักหลี (จีน-แต้จิ๋ว)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Marvel of peru, Four o’clock, False Jalap

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mirabilis jalapa L.

ชื่อวงศ์ : NYCTAGINACEAE

ลักษณะของบานเย็น

ต้น  ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเง้า สูง 1-1.5 ม. ลำต้นมีสีแดง มีนวลเล็กน้อย

ใบ  ใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม มีขนประปราย กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1-4 ซม. กลีบประดับรูประฆัง ติดที่ฐาน ยาว 1-1.5 ซม.

ดอก  ดอกเกือบไร้ก้าน มี 4-5 ดอกในแต่ละช่อ บานตอนบ่ายๆ จนถึงตอนเช้า วงกลีบสีชมพู ม่วง ขาว เหลือง หรือด่าง ยาวประมาณ 3-6 ซม. ปากกลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 ซม. เกศรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรสีแดง อับเรณูทรงกลม รังไข่รูปรี ก้านเกศรเพศเมียยาวเท่าๆ เกสรเพศผู้ สีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้นๆ

ผล  ผลรูปกลมรี สีดำ ขนาดประมาณ ยาว 0.5-0.9 ซม. เปลือกบาง มี 5 สัน เมล็ดกลม ขนาดประมาณ 0.7 ซม.

ต้นบานเย็น
ต้นบานเย็น ไม้ล้มลุก ใบรูปไข่ มีขน

การขยายพันธุ์ของบานเย็น

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่บานเย็นต้องการ

ประโยชน์ของบานเย็น

  • เป็นไม้ประดับทั่วไป
  • เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้คลุมดิน หรือปลูกไว้ตามแนวรั้วกันบริเวณ
ดอกบานเย็น
ดอกบานเย็น ดอกสีม่วง ก้านเกสรสีแดง

สรรพคุณทางยาของบานเย็น

  • ราก  มี alkaloid trigonelline ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
  • ใบ  ตำทาแก้คัน และ พอกฝี
  • หัว  รับประทานจะทำให้หนังชาอยู่คงกะพันเฆี่ยนตีไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน

คุณค่าทางโภชนาการของบานเย็น

การแปรรูปของบานเย็น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9672&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment