ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจียวขาว

กระเจียวขาว

ชื่ออื่นๆ : อาวขาว (เชียงใหม่),กระเจียวโคก กระชายดง (เลย), กระเจียวขาว(นครราชสีมา),ว่านม้า    น้อย (สุโขทัย), กระจ๊อด, กระเจียว, ดอกดิน, อาว 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : White angel   กระเจียวขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma parviflora Wall.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของกระเจียวขาว

กระเจียวขาว เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 15-50 เซนติเมตรและอาจสูงได้ถึง 70 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีกลิ่นหอม เหง้ามีลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนดาประมาณ 2×1 เซนติเมตร ภายในเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ และเหง้ามีขนาดสั้นมาก เหง้าของลำต้นเทียมที่แก่เต็มที่หรือมีดอกแล้วเท่านั้นที่จะบวมพองสะสมน้ำและอาหารได้

ต้นกระเจียวขาว
ต้นกระเจียวขาว ไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของกระเจียวขาว

  • ดอกอ่อน หน่ออ่อน สามารถนำมาต้มหรือลวกใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ หรืออาจนำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ทำแกง เป็นต้น โดยคุณค่าทางอาหารต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย โปรตีน 1.2 กรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 1.9 มิลลิกรัม
  • ต้นกระเจียวขาวมีช่อดอกที่ดูสวยงาม จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลาย
ดอกกระเจียวขาว
ดอกกระเจียวขาว ดอกสีขาว ปลายกลีบสีม่วง

สรรพคุณทางยาของกระเจียวขาว

  • หน่ออ่อนและดอกอ่อนของกระเจียวมีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นหอม เป็นยาช่วยขับลม (หน่ออ่อน, ดอกอ่อน)
  • ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาทารักษาแผลสดและช่วยห้ามเลือด (ใบ)
  • ขับลม รักษาลำไส้ (เหง้า)
  • ตามตำรับยาพื้นบ้านล้านนาและชาวเขาเผ่าอีก้อ จะใช้ต้นกระเจียวขาวทั้งต้น หัวขมิ้นขาว หัวข่าหด หัวเร่ว หัวไพล หัวว่านมหาเมฆ หัวว่านสาวหลง และหัวว่านแสงอาทิตย์ นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืชแล้วกรองเอากากทิ้ง เอาแต่น้ำมันมาใช้เป็นยาทาถูนวด แก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียวขาว

โดยคุณค่าทางอาหารต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย
โปรตีน 1.2 กรัม
แคลเซียม 31 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 1.9 มิลลิกรัม

การแปรรูปของกระเจียวขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10208&SystemType=BEDO
http:// ecoforest.phsmun.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment