ปอบิด ไม้พุ่มขนาดเล็ก รากและเปลือกราก ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุ

ปอบิด

ชื่ออื่นๆ : มะบิด (ภาคเหนือ) ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : East Indian screw tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicteres isora L.

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะของปอบิด

ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก จะมีความสูงประมาณ 2-3 เมตร เปลือกของลำต้นมียางเหนียว และทุกส่วนของลำต้น จะมีขนขึ้นทั่ว ๆ ไป

ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะค่อนข้างใหญ่ โคนใบเว้าเข้าหากันริมของใบหยักเป็นแบบฟันปลา ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 นิ้ว ยาวประมาณ4-8 นิ้ว หลังใบและใต้ท้องใบจะมีขนขึ้นประปราย

ดอก : ดอกเป็นกระจุกประมาณ 2-3 ดอก ลักษณะของดอกกลีบมีสีส้ม หรือสีอิฐ ขนาดของดอกยาวประมาณ 2 ซม. ดอกจะออกระหว่างบริเวณต้นกับใบ

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปฝัก บิดเหมือนเชือกควั่น มีขนาดยาวประมาณ 1-1.5 นิ้วผลเมื่อแก่เต็มที่มีเป็นสีน้ำตาล หรือสีดำ และผลนั้นก็จะแตกอ้าออกผลออกประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม

ปอบิด
ดอกมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุก ระหว่างต้นกับใบ

การขยายพันธุ์ของปอบิด

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ปอบิดต้องการ

ประโยชน์ของปอบิด

เส้นใยของปอบิด มีลักษณะหรือคุณภาพเช่นเดียวกับปอแก้ว เส้นใยที่ดีที่สุดจะต้องเป็นลำต้นที่มีอายุ ประมาณ 1-1.5 ปี

สรรพคุณทางยาของปอบิด

  • เปลือกลำต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ เป็นต้น
  • ผล ใช้ผลแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง แก้ท้องอืด ขับเสมหะ แก้ปวดเบ่ง แก้ปวดเคล็ดบวม กระเพาะอาหารเป็นแผล หรืออักเสบ เรื้อรัง เป็นต้น
  • รากและเปลือกราก ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ
ต้นปอบิด
ต้นปอบิด เปลือกของลำต้นมียางเหนียว ทุกส่วนของลำต้น จะมีขนขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการของปอบิด

การแปรรูปของปอบิด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9538&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment