ปอสา เปลือกใช้ทำเยื่อกระดาษสา เนื้อไม้ใช้ทำตะเกียบ และไม้จิ้มฟัน

ปอสา

ชื่ออื่นๆ : ฉำฉา, ชำสา (นครสวรรค์) ชะดะโค (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ปอกระสา (กลาง,เหนือ) ปอฝ้าย (Peninsusar) ส่าเหร่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : พบในเขตเขตเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Paper mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broussonetia papyrifera

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะของปอสา

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาล ยอดอ่อนมีขนสีเทาปกคลุม

ใบ ใบเดี่ยว แผ่นใบสากมือเล็กน้อย

ดอก ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจุกแน่น

ผล ผลกลม สีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดสีแดง

ใบปอสา
ลักษณะใบสามแฉก ขอบใบหยัก

การขยายพันธุ์ของปอสา

ตัดยอดปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ปอสาต้องการ

ประโยชน์ของปอสา

  • เปลือกใช้ทำกระดาษสา ทอผ้า เส้นใย ใช้ในงานศิลปะต่าง ๆ เส้นใยจากเปลือกใช้ทำผ้าตาปาซึ่งใช้ในฟิจิ ตองกา ซามัว และตาฮิติ (กระดาษสาที่ได้จะมีคุณสมบัติทนทานไม่กรอบและไม่เปื่อยยุ่ยง่าย สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยกระดาษสาสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์และของใช้ได้มากมาย เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษห่อของกันแตก ร่ม ว่าว พัด ดอกไม้ โคมไฟ ตุ๊กตา ของชำร่วย บัตรอวยพรต่าง ๆ เป็นต้น)ทางภาคเหนือจะใช้เส้นใยจากเปลือกลำต้นปอกระสา นำมาทำเป็นกระดาษหรือกระดาษทำร่ม โดยมีกรรมวิธีในการทำคือ ให้นำเปลือกสดมาทุบให้อ่อน แล้วนำไปแช่ในน้ำปูนขาว จากนั้นก็นำมาต้มน้ำให้เดือดจนได้เส้นใยออกมา แล้วนำมาล้างด่างออกให้หมด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง ก็จะได้กระดาษชนิดหยาบ ถ้าเอามาเผาบนพื้นแก้วหรือนำมารีดให้เรียบก็จะได้เป็นกระดาษ ใช้ทาน้ำมันทำเป็นกระดาษทำร่มกันฝน กันแดดได้ นอกจากนี้เปลือกต้นยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกหรือใช้ทอผ้าได้อีกด้วย
  • แกนของลำต้นที่เหลือจากการลอกเปลือกออกไปแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเยื่อกระดาษได้ โดยใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ซึ่งจะมีปริมาณเยื่อกระดาษอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 50 และ 70 ในการผลิตเยื่อโซดาและเยื่อนิวทรัลซัลไฟต์เซมิเคมิคัล ตามลำดับ
  • เปลือกต้นใช้ทำเชือกหรือนำมาลอกออกแล้วนำไปขายได้
  • ใบหรือยอดอ่อนนำมาหั่นหยาบ ๆ ใช้เป็นอาหารหมู หรือต้มให้หมูกิน หรือนำมาหั่นแล้วต้มผสมรำเป็นอาหารหมู หรือใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงวัว เลี้ยงปลา
  • ผลสุกหรือเมล็ดใช้เป็นอาหารของนกและกระรอก
  • น้ำมันจากเมล็ดใช้สำหรับทำเครื่องเขิน สบู่
  • ใช้เป็นแหล่งสีธรรมชาติ โดยการนำใบมาสกัดจะได้สีเหลือง
  • เนื้อไม้ใช้ทำตะเกียบและไม้จิ้มฟัน
  • ต้นปอกระสาจัดเป็นไม้เนื้ออ่อนเจริญเติบโตได้รวดเร็ว จึงเหมาะปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ปลูกเป็นสวนป่า นอกจากจะเป็นไม้โตเร็วแล้วยังมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์ได้ง่าย และช่วยลดมลภาวะได้อีกด้วย
ต้นปอสา
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกมีเยื่อใย เหนียว

สรรพคุณทางยาของปอสา

  • ใบใช้เป็นยาแก้ร้อนในตับ ในกระเพาะ
  • เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียน
  • ผลมีสรรพคุณเป็นยาชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือบดเป็นผงผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดรับประทาน
  • ผล รากและเปลือก มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียดหรือทำเป็นยาก้อนเล็ก ๆ หรือใช้ต้มเอาน้ำรับประทาน หรือจะใช้รากและเปลือกรากแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน
  • ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเป็นมีหนอง ด้วยการนำใบมาบดให้เป็นผงละเอียด แล้วทำเป็นยาเม็ดรับประทาน
  • ราก ต้น และใบ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยแก้อาการบวมน้ำ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มแล้วคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกลำต้นที่แห้งแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียดหรือทำเป็นยาก้อนเล็ก ๆ หรือใช้ต้มเอาน้ำรับประทาน หรือจะใช้รากแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทาน ส่วนอีกวิธีใช้ผลแห้งประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดอาการบวมน้ำ
  • ผลใช้เป็นยาบำรุงตับและไต ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-12 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือบดเป็นผงผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดรับประทานก็ได้ ส่วนรากและเปลือกก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงไตเช่นกัน
  • ใบนำมาตำคั้นเอาน้ำ หรือเอากากมาพอกบริเวณที่เป็นบาดแผลมีเลือด จะเป็นยารักษาแผลสด ช่วยห้ามเลือด หรือจะใช้เปลือกกิ่งก้านอ่อนที่นำมาตำให้ละเอียด เอากากมาพอกบาดแผลที่มีเลือดออก ส่วนรากและเปลือกใช้ภายนอกก็มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผลสดเช่นกัน ด้วยการใช้รากแห้งนำมาหั่นและบดให้เป็นผงละเอียด ใช้ใส่บริเวณที่เป็นแผลสด แผลฟกช้ำ
  • ยางนำมาใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หรือจะใช้ยางสด 10 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์หรือวาสลิน 90 ส่วน ผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น ส่วนใบใช้เป็นยา
  • แก้กลากเกลื้อนหรือประสาทผิวหนังอักเสบ แก้ผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำคั้นเอาน้ำ หรือเอากากมาพอกบริเวณที่เป็น
  • ใช้เปลือกกิ่งก้านอ่อนที่นำมาตำให้ละเอียด เอากากมาพอกบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ผลนำมาตำแล้วใช้พอกบริเวณที่มีฝีหนอง
  • ใช้รากแห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มเอาน้ำรับประทานเป็นยาแก้ปวดฝี
  • ใบใช้ตำพอกรักษาแผลจากตะขาบ งู แมงป่อง และแมลงที่มีพิษกัดต่อย ด้วยการนำใบมาตำคั้นเอาน้ำ หรือเอากากมาพอกบริเวณที่เป็น
  • ยางก็ใช้เป็นยาทาแก้พิษงู แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ผลมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเส้นเอ็นและกระดูก
  • นอกจากนี้หากมีอาการปวดเวียนศีรษะบ่อย ๆ กระหายน้ำ ปากขม ท้องผูก มีอาการการหลั่งน้ำอสุจิยามนอนหลับ หรือมีอาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ก็ให้ใช้ถั่วดำประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้แช่ผลปอกระสาที่แห้งแล้ว จากนั้นนำมาตากให้น้ำถั่วแห้งสนิท ใส่เมล็ดเก๋ากี้ แล้วคั่วรวมกันให้เกรียม บดให้เป็นผงละเอียด ใช้รับประทานวันละ 15 กรัม

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม ราก เปลือก และใบ ให้นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 10-18 กรัม ส่วนรากสดและใบ ใช้ต้มน้ำประมาณ 30-70 กรัม ส่วนผลให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม (ยาจีนส่วนมากจะใช้ผลเป็นยามากกว่า)

ยาง ราก ใบ และเปลือกลำต้น ผู้ที่แพ้เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของปอสา

การแปรรูปของปอสา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://skpcm-99.blogspot.com/2018/12/blog-post.html
http:// www.rspg.or.th
https:// www.teaoilcenter.org

One Comment

Add a Comment