ปาล์มน้ำมัน เป็นปาล์มที่ชอบแสงมาก

ปาล์มน้ำมัน

ชื่ออื่นๆ : ปาล์มน้ำมัน (เหนือ) มะพร้าวลิง, มะพร้าวหัวลิง (กลาง) หมากมัน (ปัตตานี)

ต้นกำเนิด : ทวีปอัฟริกา ในประเทศไทยพบปลูกทั้งทางภาคใต้ และภาคตะวันออก

ชื่อสามัญ : Palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeis guineensis Jacq

ชื่อวงศ์ : ARECACEAE (PALMAE)

ลักษณะของปาล์มน้ำมัน 

ต้น ลักษณะปาล์มน้ำมัน เป็นปาล์มลำต้นเดี่ยวสูงประมาณ 10 เมตร เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล

ใบ  ใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ

ดอก  จะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป ผลอัดแน่นจะ มีเปลือกสีน้ำตาลออกดำที่ขั้วจะมีสีเหลืองส้ม

ผล  เป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลละ 10-15 กรัม เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่อผลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อผลแก่และสุก ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด ประกอบด้วยกะลาและเนื้อในซึ่งมีต้นอ่อนฝังอยู่

ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมัน ลำต้นเรียงอัดแน่นด้วยกาบใบ

การขยายพันธุ์ของปาล์มน้ำมัน

ใช้เมล็ด

การปลูกปาล์มน้ำมันเริ่มต้นด้วยการนำเมล็ดมาเพาะในถุงให้งอกเป็นต้นกล้า อายุต้นกล้าที่ใช้ปลูก อายุที่เหมาะสมคือ 10 – 12 เดือน จะระยะเวลาปลูกอยู่ช่วงฤดูฝนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน การเตรียมการในเรือนเพาะชำ ก่อนย้ายปลูกให้น้ำต้นกล้าปาล์มก่อนจะนำลงปลูก และพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง คัดต้นกล้าผิดปกติออก ลักษณะหลุมปลูก ขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 รูปทางเป็นรูปตัวยู วิธีการชุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมประมาณ 10 วัน การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้รถบรรทุก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และคำนึงถึงความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายด้วย สิ่งสำคัญการปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ควรใช้ร๊อกฟอสเฟตอัตรา 250 กรัมต่อหลุม ก่อนนำต้นกล้าลงปลูก ควรคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง ใส่ดินลงไปในหลุมโดยใช้ดินชั้นบนลงไปก่อน และอัดให้แน่นเพื่อป้องกันลมพัดแรง การตรวจแปลงหลังจากปลูก ต้นกล้าจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที โดยการปลูกซ่อม ควรทำภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก

มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน 1 จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา
2 จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3 ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4 ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5 ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6 ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7 ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8 ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า

ธาตุอาหารหลักที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

ลำต้นเรียงอัดแน่นด้วยกาบใบเป็นปาล์มที่ชอบแสงมากชอบความชื้นปานกลาง

ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน

การใช้ประโยชน์
1. น้ำมันปรุงอาหาร
2. มาการีนหรือเนยเทียม
3. น้ำมันสำหรับทอด (Frying Fat)
4. เนยขาว
5. น้ำมันปาล์มเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated Palm Oil)
6. นมข้นหวาน
7. ไอศครีม
8. ครีมเทียมและนมเทียม
9. กรดไขมันอิสระ (Palm Fatty Acid Distilled PEAD)
10. สบู่ น้ำมันปาลืมสามารถนำมาใช้ผลิตสบู่ได้ ทั้งสบู่ฟอกร่างกายและสบู่ซักล้าง การทำสบู่มีหลายสูตร ยกตัวอย่างสูตรทำสบู่ฟอกร่างกายสูตรหนึ่งใช้ปาล์มสเตียรีนร้อยละ 40 น้ำมันปาล์มร้อยละ 40 และใช้น้ำมันเมล็ดในปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าวร้อยละ 10

สรรพคุณทางยาของปาล์มน้ำมัน 

คุณค่าทางโภชนาการของปาล์มน้ำมัน

การแปรรูปของปาล์มน้ำมัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11126&SystemType=BEDO
www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment