ปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท

ปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท

        ปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท การเพาะปลูกทางเกษตรกรสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินยิ่งดินดีมีความสามบูรณ์มากเท่าไหร่ผลผลิตทางการเกษตรก็จะยิ่งมากขึ้น เกษตรตำบลจะพาไปรู้จักกับสิ่งที่เป็นตัวช่วยทำให้ดินมีความอุดมร์สมบูรณ์ให้สารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตซึ่งทางการเกษตรเรียกว่า” ปุ๋ย ” เป็นแหล่งรวมธาตุอาหารหลักของพืชที่เกษตรกรหลายๆท่านคงจะรู้จักดี

ปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท
ปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท

       การนำปุ๋ยมาใช้ในการเกษตร เกษรกรรม เป็นตัวช่วยหรือวิธีที่จะทำให้ผลผลิตออกมาได้ตรงกับความต้องการของตลาด แล้วจริงๆแล้วปุ๋ยคืออะไร ประเภทของปุ๋ย ปุ๋ยมีกี่ประเภท เกษตรตำบลก็ไม่ผลาดที่จะนำความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยมาฝากค่ะชาวเกษตรตำบล

        “ปุ๋ย” คือ วัสถุที่ให้สารอาหารแก่พืชหรือดิน เป็นสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด เช่น การนำไปใช้ใส่ในกล้วย โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

ประเภทของปุ๋ย ที่ใช้ในการเกษตร

      ปุุ๋ย สารอาหารที่ใช้ในการบำรุงพืชให้เจริญเติบโต โดยประเภทของปุ๋ยแบ่งได้กี่ประเภทนั้น คำตอบคือ ปุ๋ยสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ประเภทของปุ๋ย ที่ใช้ในการเกษตร
ประเภทของปุ๋ย ที่ใช้ในการเกษตร
  • ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากสารอินทรีย์หรือวัสดุอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ อาทิ การสับ การบด การหมัก การร่อน การสกัด เป็นต้น ปุ๋ยอินทรีย์จะประกอบด้วยแร่ธาตุหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในปริมาณที่สูง และแร่ธาตุเสริมอื่นๆ นอกจากตัวแร่ธาตุแล้วปุ๋ยอินทรีย์จะให้อินทรีย์วัตถุที่ทำหน้าที่ในการ บำรุงดินในด้านต่างๆ แต่เมื่อเทียบปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชแล้วยังมีธาตุอาหารที่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี โดยปุ๋ยอินทรีย์ก็จะแบ่งออกเป็น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก
  • ปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีผลทำให้ ช่วยเพิ่มปริมาณที่เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุอาหารหลักที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
  • ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่เป็นอนินทรียสาร อาจเป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยเชิงประกอบ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น จากหิน เหมือนแร่ต่างๆ หรือ จากการสังเคราะห์ขึ้นทางวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด  โดยที่ปุ๋ยเคมีจะมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลักของพืช  ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือ โปแตสเซียม ในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์จึงทำให้ปุ๋ยเคมีได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์
  • ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ เป็นการนำปุ๋ยอินทรีย์ มารวมกับ ปุ๋ยชีวภาพ จนเกอดเป็นสารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่างๆ
ปุ๋ยธาตุอาหารหลักของพืช
ปุ๋ยธาตุอาหารหลักของพืช

ปุ๋ยธาตุอาหารหลักของพืช

     ธาตุอาหารพืช เป็นองค์ประกอบหรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะปลดปล่อย หรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช โดยที่พืชต้องการธาตุอาหาร 16 ชนิด คือ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน จากจำนวนธาตุทั้ง 16 ชนิด ธาตุที่พืชได้รับจากน้ำและอากาศ มี 3ชนิด คือ ออกซิเจน ไฮโดรเจน คาร์บอน ในส่วนของธาตุที่พืชต้องการในจำนวนปริมาณมาก มี 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม  ซึ่งถูกจัดเป็นธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย และในดินมักมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มธาตุเหล่านี้เข้าไปในดินโดยการให้ปุ๋ย

ปุ๋ยที่นิยมใช้ในการเกษตร

     ในการเกษตรปัจจุบันโดยส่วนใหญ่ปุ๋ยที่ชาวบ้านชาวสวนนิยมใช้กันก็คือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก เพราะมีราคาถูกสามารถที่จะผลิตขึ้นมาใช้เองได้ ส่วนปุ๋ยที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ คือ ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง และมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค

     สำหรับบทความความรู้ในเรื่องปุ๋ยวันนี้เกษตรตำบลก็มีเพียงเท่านี้ค่ะ หวังว่าความรู้เรื่องของปุ๋ย จากบทความปุ๋ย ประเภทของปุ๋ย ธาตุอาหารพืชในดิน จะเป็นประโยชน์ทำให้รู้จักกับปุ๋ยมากขึ้นนะค่ะ พบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ

ภาพประกอบ : www.flickr.com

 เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment