ผักกะออม ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาประกอบอาหาร

ผักกะออม

ชื่ออื่นๆ : ผักพา (ภาคเหนือ), จุ้ยหู่โย้ง (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยฝูโหยง (จีนกลาง), ผักกะแยง แขยง คะแยง ผักกะออม มะออม ผักลืมผัว ควันเข้าตา อีผวยผาย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ผักกะออม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnophila aromatica( Lamk.) Merr.

ชื่อวงศ์ : Scrophulariaceae

ลักษณะของผักกะออม

พืชล้มลุกฤดูเดียวหรือหลายฤดู สูง 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม ลำต้นทอดเลื้อย แตกรากจากข้อ ใบเรียงตรงข้าม หรือเรียงรอบข้อชุดละ 3 ใบ ไม่มีก้าน โอบรอบข้อบางส่วน ใบรูปรี-รูปใบหอก กว้าง 0.3-1.5 เซนติเมตร ยาว 1-5 เซนติเมตร ขอบใบหยักมน หรือหยักฟันเลื่อย เส้นใบแบบขนนก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ก้านดอกยาว 0.5-2 เซนติเมตร อาจมีต่อม ใบประดับรูปแถบ-รูปใบหอก กลีบเลี้ยงยาว 4-6 มิลลิเมตร อาจมีขนปกคลุม กลีบดอกสีขาว ม่วง-น้ำเงิน หรือชมพู ยาว 1-1.3 เซนติเมตร มีต่อม ก้านชูเกสรเพศผู้ส่วนปลายพองออก ก้านชูเกสรเพศเมียสั้น แยกเป็น 2 แฉก ผลแก่แล้วแตก ทรงรี ขนาดประมาณ 6 มิลลิเมตร

ผักกะออม
ลำต้นกลมกลวงเป็นข้อ ลำต้นทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของผักกะออม

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ดปลูกได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่ผักกะออมต้องการ

ประโยชน์ของผักกะออม

ทั้งต้นมีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาประกอบอาหาร พื้นบ้านหลากหลายชนิด เช่น แกงปลา อ่อมต่างๆ

สรรพคุณทางยาของผักกะออม

  1. ผักแขยงมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน ช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร (ทั้งต้น)
  2. หมอยาพื้นบ้านแนะนำว่าให้กินผักแขยงเพื่อป้องกันเส้นเลือดตีบตันและไข้ร้อนใน (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ด้วยการใช้ต้นผักแขยงสด ๆ ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ทั้งต้น)
  4. ตำรายาพื้นบ้านภาคอื่นๆ จะใช้ผักแขยงทั้งต้นและรากเป็นยาแก้ไข้หัวลม โดยใช้ในปริมาณตามต้องการ ก่อนนำมาใช้ให้ล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน แล้วนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำกิน (ทั้งต้น)
  5. ทั้งต้นใช้เป็นยาขับลมและเป็นยาระบายท้อง (ทั้งต้น)
  6. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ (ทั้งต้น)
  7. ใช้แก้อาการคัน กลาก และฝี ด้วยการใช้ต้นสดนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น หรือนำมาคั้นเอาน้ำทา หรือนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
  8. ทั้งต้นใช้ตำพอกแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
  9. ใช้เป็นยาแก้พิษงู (สำหรับงูพิษที่ไม่มีพิษร้ายแรง) ด้วยการใช้ต้นสดๆ ประมาณ 15 กรัม นำมาตำให้ละเอียดผสมกับต้นฟ้าทะลายโจรสด ประมาณ 30 กรัม แล้วนำไปผสมกับน้ำส้มในปริมาณพอควร คั้นเอาน้ำดื่ม ส่วนกากที่เหลือให้เอามาพอกรอบๆ บาดแผล แต่อย่าพอกบนบาดแผล (ต้น)
  10. ทั้งต้นแห้งที่เก็บไว้นาน 1 ปี เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษเบื่อเมา (ทั้งต้น)
  11. ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะใช้ผักแขยงทั้งต้นเป็นยาช่วยขับน้ำนมของสตรี โดยจะนำมาใช้หลังจากการคลอดบุตรมาได้สักพักแล้ว เนื่องจากตอนคลอดบุตรใหม่ๆ ร่างกายของคุณแม่อาจยังไม่เข้าที่หรือยังอ่อนแอมาก กลิ่นของผักแขยงอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวหรือคลื่นไส้ได้ (ทั้งต้น)
  12. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้น้ำนมแม่ที่มีรสเปรี้ยว (ทั้งต้น)
ดอกผักกะออม
ดอกผักกะออม ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกสีม่วง

คุณค่าทางโภชนาการของผักกะออม

การแปรรูปของผักกะออม

  • ภายในต้นผักแขยงจะมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีกลิ่นคล้ายกับน้ำมันสน โดยมีอยู่ประมาณ 0.13% และยังประกอบไปด้วย d-limonene และ d-perillaldehyde
  • น้ำมันหอมระเหยของผักแขยงมีฤทธิ์ต่อต้านจุลินทรีย์ มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะแมลงในกลุ่มทำลายผลไม้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12139&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment