ผักกาดนา ยอด ใบ กินสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก

ผักกาดนา

ชื่ออื่นๆ : ตั้งโอ๋ไทย, ผักจรวด, ผักกาดไร่, ผักก้มบ่เงย, ผักกาดหัวปลี (ใต้) ผักกาดหัวฟุ้ง, ผักกาดหัวปลี, ผักช้าง

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crassocephalum crepidioides (Benth) S. Moore

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะของผักกาดนา

ต้น พืชล้มลุกเด็ดยอดแตกกิ่งใหม่ สูงประมาณ 3-5 ฟุต ลำต้นเป็นเหลี่ยมสีเขียวอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว ขอบใบเว้า ใบกว้างประมาณ 5-10 ซม. หลังใบนูนระหว่างเส้นใย

ดอก ดอกสีชมพู – ม่วง เป็นปุยรูปถ้วยทรงกลม เกสรสีแดงอ่อนออกจากปลายยอด โดยชูก้านช่อดอกสูงเหนือเรือนยอด เมื่อแก่จะแตกออกและปลิวไปตามสายลม

ต้นผักกาดนา
ต้นผักกาดนา ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวอ่อน

การขยายพันธุ์ของผักกาดนา

ใช้เมล็ด  ชอบขึ้นที่ป่าโปร่งมีแสงแดดเพียงพอ และที่ชื้น

ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดนาต้องการ

ประโยชน์ของผักกาดนา

ใช้ยอด ใบ กินสดหรือลวก ลวกจิ้มน้ำพริก นำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง

ดอกผักกาดนา
ดอกผักกาดนา ดอกสีชมพู – ม่วง เป็นปุยรูปถ้วยทรงกลม

สรรพคุณทางยาของผักกาดนา

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดนา

การแปรรูปของผักกาดนา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10055&SystemType=BEDO
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment