ผักกาดหวาน นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ

ผักกาดหวาน

ชื่ออื่นๆ : ผักกาดคอส, ผักคอส

ต้นกำเนิด :ทวีปเอเชียและยุโรป

ชื่อสามัญ : Cos Lettuce, Romain Lettuce

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lactuce sativa. longifolla

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE

ลักษณะของผักกาดหวาน

ต้น  เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ

ใบ  ใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกลม การปลูกดูแลรักษาคล้ายผักกาดหอมห่อ แต่จะมีลักษณะ แตกต่างกันออกไปบ้าง ตามสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีชนิดใบกลม ห่อหัวแน่น รสชาติหวานกรอบ เรียกว่า เบบี้คอส (baby cos) โดยกลุ่มพืชชนิดนี้ ควรปลูกเฉพาะ ในฤดูหนาว และฤดูฝน

ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก แบบเชิงหลั่น มีดอกย่อยออกโคนไปที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน

ผักกาดหวาน
ใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกรอบ

การขยายพันธุ์ของผักกาดหวาน

การใช้เมล็ด

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตรม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืช แห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 กก./ไร่ (รองพื้น) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า เพราะกล้าในถาดหลุัม ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุ กล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์

การปลูก ระยะปลูก 30×30 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 40×40 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน (เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)

ข้อควรระวัง
อย่าปลูกในหลุม ใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหาก การระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย อย่าเหยียบ หลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี กล้วควรแข็งแรง อายุม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ ก่อนใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ต้องวั pH ก่อนช่วงเตรียมดิน หลังย้ายกล้าในฤดูฝน ให้ระวังหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีด การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า
การให้ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ อย่างละครึ่ง พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อมโต๊ะ กลบดินแล้ว รดน้ำ

ข้อมควรระวัง
ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบ กระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรปลูกซ้ำที่ การเก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุ ได้ ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้หลังมือ กดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้ (กดยุบแล้วกลับคืนเหมือนเดิม) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกัน ความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยง การเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยว ตอนบ่าย หรือค่ำ แล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดง ที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก

ข้อควรระวัง
ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะ เน่าง่าย เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการ ระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก

หัวผักกาดหวาน
ลำต้นเป็นกอ ใบยาวรี สีเขียวอ่อนถึงเข้ม

ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดหวานต้องการ

ผักกาดหวานเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น  อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24 องศาเซลเซียส ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถูสูง

ประโยชน์ของผักกาดหวาน

ผักกาดหวาน เป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่ง ในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ ในบางชนิด เช่น นำไปผัดกับน้ำมัน โดยใช้ไฟแรงอย่างรวดเร็ว

สรรพคุณทางยาของผักกาดหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหวาน

ผักกาดหวาน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การแปรรูปของผักกาดหวาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11379&SystemType=BEDO
www.rpplant.royalparkrajapruek.org
www.flickr.com

Add a Comment