ผักคราดหัวแหวน ผักเผ็ด สรรพคุณแก้ปวด แก้พิษ

ผักคราดหัวแหวน

ชื่ออื่นๆ : ผักคราด, ผักเผ็ด, อึ้งฮวยเกี้ย

ต้นกำเนิด : ประเทศบลาซิล

ชื่อสามัญ : ผักคราดหัวแหวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : spilanthes acmell murr

ชื่อวงศ์ : compositae

ลักษณะของผักคราดหัวแหวน

ต้น ไม้ล้มลุก สูง 30-40 ซม. ลำต้นมักทอดเลื้อย ปลายยอดตั้ง ต้นสีเขียวปนสีม่วงแดง มีขน

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนประปรายทั้งสองด้าน

ดอก ออกเป็นช่อรูปกรวยคว่ำ ตามซอกใบ ดอกสีเหลือง

ผล เป็นผลแห้ง รูปไข่

ผักคราดหัวแหวน
ผักคราดหัวแหวน ลำต้นต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน

การขยายพันธุ์ของผักคราดหัวแหวน

ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ดโรยตามดินที่ปลูกที่เหมาะสม

ธาตุอาหารหลักที่ผักคราดหัวแหวน

ประโยชน์ของคราดหัวแหวน

ผักคราดหัวแหวนสามารถใช้เป็นอาหารได้ โดยยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกลาบ ก้อย แกง และยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้ โดยชาวเหนือนำผักคราดหัวแหวน ไปแกงแค ชาวอีสาน นำไปใส่กับอ่อมปลาอ่อมกบ และชาวใต้นำยอดอ่อนไปแกงร่วมกับ หอยและปลา ทำให้รสชาติและกลิ่นของอาหารน่ารับประทานมากขึ้น

สรรพคุณทางยาของคราดหัวแหวน

สรรพคุณ :

  • ราก – แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ แก้คัน เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
  • ต้น – แก้พิษตานซาง แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ฝีในคอ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ริดสีดวง
  • ทั้งต้น
    – รสเผ็ด ซ่าปาก ทำให้ลิ้นและเยื่อเมือกชา แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ
    – แก้ฝีในคอ แก้ไข้ คอตีบตัน แก้ซาง แก้คัน แก้ริดสีดวง แก้เริม
    – แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ไอ ระงับหอบ ไอหวัด ไอกรน หอบหืด
    – แก้เหงือกและฟันปวด แก้ปวดบวมฟกช้ำ แก้ไขข้ออักเสบจากลมขึ้น ( Rheumatic fever )
    – แก้บิด ท้องเดิน
    – แก้แผลบวม มีพิษ งูพิษกัด สุนัขกัด ตะมอย
  • ใบ – แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ รักษาแผล มีฤทธิ์เป็นยาชา
  • ดอก – แก้ปวดฟัน แก้ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

  • ใช้รับประทานภายใน
    ต้มแห้งหนัก 3.2- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงหนัก 0.7- 1 กรัม รับประทานกับน้ำ หรือผสมกับเหล้ารับประทาน
  • ใช้ทาภายนอก
    ต้นสดตำพอก หรือเอาน้ำทาถู ใช้ต้นสด 1 ต้น ตำให้ละเอียด เติมเกลือ 10 เม็ด คั้นน้ำ ใช้สำลีพันไม้ชุบน้ำยาจิ้มลงในซอกฟัน ทำให้หายปวดฟันได้

สารเคมี :
ทั้งต้น พบ Sitosterol-O-Beta-D-glucoside, Alpha- และ Beta-Amyrin ester, Stigmasterol, Spiranthol, Spilantol, lsobutylamine

อีกทั้งทางด้านเภสัชวิทยาช่วยต้านเชื้อแบทรีเรียต้านยีสต์ ต้านไวรัส ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ลดความดันโลหิต เพิ่มฤทธิ์ของฮิสตามิน ในการทำให้ลำไส้หดเกร็ง ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันฆ่ายุง ฆ่าลูกน้ำยุง ทำให้ชัก เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้ปวด ลดความแรงและความถี่ของการบีบตัวของหัวใจห้องบน ยับยั้งการหดตัวของมดลูกซึ่งเหนี่ยวนำด้วย oxytocin

ต้นผักคราดหัวแหวน
ต้นผักคราดหัวแหวน ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน

คุณค่าทางโภชนาการของคราดหัวแหวน

การแปรรูปของผักคราดหัวแหวน

ดอกผักคราดหัวแหวนขาวเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.10 (สนใจรายละเอียด GC Chromatogram ติดต่อที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9182&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
http://www.rspg.or.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment