ผักชีฝรั่ง นำมาทานเป็นผักและเป็นยาสมุนไพร

ผักชีฝรั่ง

ชื่ออื่นๆ : ผักชีดอย (เหนือ,เชียงใหม่) มะและเด๊าะ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) หอมป้อมกุลา (เหนือ) ผักหอมเป (อีสาน) ผักชีใบเลื่อย

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก

ชื่อสามัญ : Stink Weed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foeidum L.

ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE

ลักษณะของผักชีฝรั่ง

ต้น  ผักชีฝรั่ง เป็นพืชวงศ์เดียวกับผักชี ลำต้นเตี้ยติดดิน

ใบ  ใบออกรอบๆ โคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบรูปหอก ยาวรี โคนใบสอบลง ยาวประมาณ 10-15 เซ็นติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย และที่ปลายจักนั้น เป็นหนามอ่อนๆ เมื่อถึงเวลาออกดอก จะมีก้านชูสูงขึ้นไป ประมาณ 10-20 เซ็นติเมตร แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย

ดอก ออกดอกเป็นกระจุกกลม ขาวอมเขียว ตรงโคนช่อดอกมีใบประดับรูปดาว

เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมทั้งต้นและใบ (ล้มลุก ออกเป็นกอ ลำต้นสั้น ใบสีเขียวยาวหยัก คล้ายฟันเลื่อย

ผักชีฝรั่ง
ใบยาวรี ปลายแหลม ริมใบหยักคล้ายฟันเลื่อย

การขยายพันธุ์ของผักชีฝรั่ง

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักชีฝรั่งต้องการ

ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

  1. ผักชีฝรั่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย (ใบ)
  2. ผักชีฝรั่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
  3. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
  4. ช่วยดับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดีและทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น(ใบ)
  5. ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร (ใบ)
  6. ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร (ใบ)
  7. ช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ (ลำต้น)
  8. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และเล็บให้แข็งแรง (ลำต้น)
  9. ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็กสำหรับหญิงให้นมบุตร (ใบ)
  10. ชาวล้านนาใช้ใบเป็นผักสดกินกับอาหารจำพวกลาบ เช่น ลาบปลา ลาบหมู ลาบวัว ลาบควาย ลาบไก่ และใช้หั่นซอย โรยในอาหารต่างๆ เช่น แกงขนุน ยำจิ๊นไก่ แกงโฮะ ในจังหวัดน่าน ใช้ผักชีฝรั่งใส่อาหารจำพวกตำ ยำผลไม้ต่างๆ เช่น ตำมะละกอ ตำส้มโอ ตำกระท้อน

สรรพคุณทางยาของผักชีฝรั่ง

  1. ช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี (ใบทำเป็นชาชงดื่มวันละ 3 ถ้วย)
  2. .ช่วยกระตุ้นร่างกาย (ใบ, น้ำต้มจากราก)
  3. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
  4. ช่วยขับเหงื่อ (น้ำต้มจากราก)
  5. ช่วยแก้ไข้ (ใบ, น้ำต้มจากราก)
  6. ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
  7. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  8. ช่วยระบายท้อง ด้วยการใช้น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบนำมาดื่ม (ใบ)
  9. ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร (ลำต้น)
  10. ใช้เป็นยาถ่าย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
  11. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ)
  12. ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
  13. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำต้มจากราก)
  14. ช่วยรักษาผดผื่นคันตามผิวหนัง
  15. ช่วยฆ่าเชื้อโรค (ลำต้น)
  16. ช่วยแก้พิษงู ด้วยการใช้ลำต้นนำมาตำแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด (ลำต้น)
  17. ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)
  18. ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  19. มีส่วนช่วยทำให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น (ใบ)
  20. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาตำผสมกับน้ำมันงาแล้วนำไปหมกไฟให้สุก จึงค่อยนำมาประคบแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
  21. ช่วยแก้บวม ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  22. ผักชีฝรั่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด เสริมสร้างความต้องการทางเพศ (น้ำต้มจากทั้งต้น)

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • เส้นใย 1.7 กรัม
  • แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 2.9 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 5,250 IU.
  • วิตามินบี1 0.31 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี2 0.21 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.7 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 38 มิลลิกรัม

การแปรรูปของผักชีฝรั่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11074&SystemType=BEDO
www.lannainfo.library.cmu.ac.th
www.bannongphi.ac.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment