ผักชีลาว ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้

ผักชีลาว

ชื่ออื่นๆ : ผักชีเมือง (น่าน), ผักชีเทียน ผักชีตั๊กแตน (พิจิตร), ผักชี (เลย, ขอนแก่น), เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Dill

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anethum graveolens L.

ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE

ลักษณะของผักชีลาว

ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักชี ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้านำไปใช้เป็นเครื่องเทศจะเก้บได้ก้ต่อเมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่จะพบในรูปของการทานสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บก่อนที่จะออกดอก ผักชีลาวมีสองชนิด คือ ชนิดที่มาจากยุโรป (Dill) และชนิดที่มีกำเนิดในเอเชียเขตร้อน (Indian Dill) ในประเทศไทยมีการปลูกเพื่อใช้ทานเป็นผักมากกว่าปลูกเพื่อใช้ผลมาทำเครื่องเทศเพราะมีคุณภาพน้อยกว่าประเทศอินเดีย

ผักชีลาว
ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน

การขยายพันธุ์ของผักชีลาว

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักชีลาวต้องการ

ประโยชน์ของผักชีลาว

  1. ผลหรือเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย นำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น (ผล)
  2. ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า ผักชีลาวผัดไข่ ยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย (ใบ)
  3. ผลนิยมนำมาบดโรยบนมัใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ นฝรั่งบดหรือสลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร (ผล)
  4. ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว (ใบ)
  5. น้ำมันผักชีลาวนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตูว์ น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย (น้ำมันผักชีลาว)

สรรพคุณทางยาของผักชีลาว

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตาต่าง ๆ (เพราะมีวิตามินเอสูงมาก)
  3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (มีแคลเซียมสูง)
  4. ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว (ผลแก่)
  5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
  6. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  7. ช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  8. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (เบตาแคโรทีน)
  9. ช่วยขยายหลอดเลือด
  10. ช่วยบำรุงปอด (ผล)
  11. ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  12. ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  13. แก้หอบหืด (ผล)
  14. ช่วยแก้อาการไอ (ผล)
  15. ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล)
  16. ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร (ใบ)
  17. ช่วยลดอาการโคลิค (Baby colic) หรืออาการ “เด็กร้องร้อยวัน” ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม (ผล)
  19. ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร (ใบ)
  20. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  21. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือจะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ผลแก่)
  22. แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน (ต้นสด)
  23. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
  24. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนนำมาต้มกินเป็นอาหาร (ใบ)
  25. แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
  26. ช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้นสด)
  27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
  28. ช่วยแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
  29. ช่วยแก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
  30. ช่วยทำให้ง่วงนอน (ผล)

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีลาว

การแปรรูปของผักชีลาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1697&code_db=610010&code_type=01
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
https://www.flickr.com

Add a Comment