ผักตีนกวาง เป็นไม้ประดับ-ใบอ่อนนำมาลวกหรือต้มกับกะทิกินกับน้ำพริก

ผักตีนกวาง

ชื่ออื่นๆ : กูดจ๊อง, กูดซัง, กูดตีนกวาง, กูดตีนฮุ้ง (ภาคเหนือ) ตีนนกยูง (จันทบุรี, ภาคใต้) ตูยุลางิ (มาเลย์-นราธิวาส) ผักตีนกวาง (ภาคเหนือ) ผักนกยูง (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด : ในไทยพบมากทางภาคใต้ ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ชายป่า

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Helminthostachys zeylanica (L.) Hook.

ชื่อวงศ์ : OPHIOGLOSSACEAE

ลักษณะของผักตีนกวาง

พืชกลุ่มเฟิร์น มีลำต้นหรือเหง้าใต้ดิน มีก้านสั้น ๆ แต่ละใบมีใบย่อยที่ปลายและด้านข้าง 1–2 คู่ แกนกลางมีครีบคล้ายปีก แผ่นใบและก้านใบสีเขียวถึงม่วง ยาว 20–40 ซม. ใบย่อยรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ยาว 10–20 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนเรียวสอบเป็นครีบ ไร้ก้าน ขอบเรียบจักเว้า แผ่นใบฉ่ำน้ำ ใบสร้างสปอร์คล้ายช่อเชิงลด ยาว 10–20 ซม. ก้านยาว 4–15 ซม. กลุ่มอับสปอร์ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ อับสปอร์ไร้ก้าน

ผักตีนกวาง
ผักตีนกวาง ใบรูปหอกปลายแหลม ไร้ก้าน

การขยายพันธุ์ของผักตีนกวาง

ใช้สปอร์

ธาตุอาหารหลักที่ผักตีนกวางต้องการ

ประโยชน์ของผักตีนกวาง

  • เป็นไม้ประดับ
  • ใบอ่อนนำมาลวกหรือต้มกับกะทิกินกับน้ำพริก
  • รากมีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลายอย่าง
สปอร์ผักตีนกวาง
สปอร์ผักตีนกวาง ออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้น

สรรพคุณทางยาของผักตีนกวาง

  • ทั้งต้น ใช้ร่วมกับพืชอื่นดื่มแก้โรคมะเร็ง
  • ใบ ประเทศอินเดียใช้รักษาแผลไฟไหม้ แผลพุพอง ศรีลังกา ใช้รักษาอาการปวดข้อ และโรคหลอดลม

คุณค่าทางโภชนาการของผักตีนกวาง

การแปรรูปของผักตีนกวาง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9886&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment