ผักบุ้งจีน ผักที่นิยมนำมาบริโภคกันมาก

ผักบุ้งจีน

ชื่ออื่นๆ : ผักบุ้งจีน

ต้นกำเนิด : แอฟริกา และเอเชีย จนถึงออสเตรเลีย

ชื่อสามัญ : Water Convolvulus,Kang Kong

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomcea aquatica Forsk. Var. reptan

ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ลักษณะของผักบุ้งจีน

เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นผักบุ้งจีน มีลักษณะกลมๆ จะมีลักษณะลำต้นตั้งตรง มีความสูงของลำต้นปานกลาง มีความสูงประมาณ 35 ซม. ถ้าลำต้นยาวมากความสูงกว่านี้ ลำต้นจะโน้มลงบนพื้นพร้อมเลื้อย แล้วจะเลื้อยทอดยอดไปเรื่อยๆ ตามพื้นดินหรือในน้ำ ลำต้นมีลักษณะมีข้อมีปล้อง ข้างในจะกลวง จะมีสีเขียวอมขาว จะมีรากเกิดที่ข้อปล้อง ทุกข้อที่เลื้อยสัมผัสกับพื้นดินหรือในน้ำ ที่ข้อจะมีตาแตกออกมา จะรับประทานลำต้น ใบและยอดอ่อน มีรสชาติหวานกรอบ

ใบผักบุ้งจีน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบใบสลับตรงข้ามกัน ก้านใบยาว ฐานใบมีลักษณะเป็นรูปรี ใบคล้ายหอก ที่โคนใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ที่โคนใบจะกว้างกว่า แล้วค่อยๆ เรียวเล็กไปจนถึงตอนปลายใบ ปลายใบจะแหลม ก้านใบมีสีเขียวอมขาว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบจะมีสีเขียวสด

ดอกผักบุ้งจีน ดอกออกเป็นช่อๆ จะมีดอกอยู่ระหว่างกลาง 1 ดอก จะมีดอกออกอยู่ด้านข้างอีก 2 ดอก ดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวย ด้านนอกดอกจะมีสีขาว ข้างในดอกจะมีสีม่วง จะมีกลีบเลี้ยงดอกสีเขียว กลีบดอกเชื่อมติดกัน ดอกจะออกตามซอกใบ ดอกผักบุ้งจีนจะบานตอนเช้า และดอกจะหุบในตอนเย็น

ผลผักบุ้งจีน มีลักษณะค่อนข้างกลม เป็นผลเดี่ยว ภายในมีเมล็ด ลักษณะผิวภายนอกผลจะขรุขระ เมื่อแก่จะเหี่ยวย่นแต่ไม่แตก เมื่อผลแก่จะแห้ง สีของผลจะมีสีน้ำตาลเข้ม ในผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 4-5 เมล็ด

ผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีน ลำต้นตั้งตรง กลม จะมีสีเขียวอมขาว

การขยายพันธุ์ของผักบุ้งจีน

ใช้เมล็ด/เป็นพืชที่ขยายพันธุ์ง่ายมาก คือเอาต้นหรือเถาไปปักชำในที่ชื้นก็จะแตกต้นใหม่ เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักบุ้งจีนต้องการ

ประโยชน์ของผักบุ้งจีน

นำไปประกอบอาหาร นิยมนำมา ต้ม ผัด หรือรับประทานสด

สรรพคุณทางยาของจีน

ลำต้นและใบ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง แก้ท้องผูก บรรเทาอาการริดสีดวง แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้เลือดกำเดาออก แก้ปวดจากแมลงกัดต่อย แก้บวม แก้ฟกช้ำ แก้โรคหนองใน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดันโลหิต
รากผักบุ้ง แก้อาการแผลปวดบวม แก้ไอเรื้อรัง แก้ตกขาวในสตรี

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งจีน

การแปรรูปของผักบุ้งจีน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11027&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment