ผักปลัง ไม้เถาเลื้อย ลำต้นอวบน้ำ มีใบสีเขียวเข้ม

ผักปลัง

ชื่ออื่นๆ : ผักปลังใหญ่ (กลาง) ผักปั๋ง (เหนือ) โปเด้งฉ้าย (จีน)

ต้นกำเนิด : พบปลูกตามรั้วบ้าน หรือเลื้อยพันตามต้นไม้ใหญ่ทั่วไป

ชื่อสามัญ : Ceylon spinach , Malabar nightshade, East indian spinach, ผักปลังขาว , ผักผลังแดง, ผักปลังใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Basella alba L.

ชื่อวงศ์ : Basellaceae

ลักษณะของผักปลัง

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นกลม อวบน้ำสีเขียว และสีม่วงอมแดง ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาได้

ใบ ใบเดี่ยวออกสลับรูปไข่หรือเกือบกลม กว้างและยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายค่อนข้างแหลมโคนรูปหัวใจเนื้อหนานุ่ม ก้านใบสีเขียว และสีแดงอวบน้ำ

ดอก ดอกสีขาวหรือสีแดงคล้ำ ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบดอกย่อยไม่มีก้านกลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบไม่แผ่ออกและไม่ร่วงเมื่อดอกแก่เกสรตัวผู้ 5 อัน

ผล ผลกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ผลแก่มีสีม่วงดำเนื้อนิ่มภายในมีน้ำสีม่วงดำ

ผักปลัง
ผักปลัง ไม้เถาเลื้อย ลำต้นกลมอวบ
ดอกผักปลัง
ดอกผักปลัง ดอกสีขาวหรือสีแดงคล้ำ

การขยายพันธุ์ของผักปลัง

การเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ผักปลังต้องการ

ประโยชน์ของผักปลัง

ยอดอ่อนและดอกอ่อนมีมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว นิยมนำมาลวกจิ้มน้ำพริก แกงใส่แหนมหรือกระดูกหมู

สรรพคุณทางยาของผักปลัง

สรรพคุณของผักปลังและวิธีใช้

  • ใบและยอดอ่อน ให้แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซีเบต้าแคโรทีน และมีใยอาหาร ช่วยระบาย หล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในน้ำคั้นจากใบสดแก้ผื่นแดงแผลสดและแก้ฝี
  • ใบแก่ ใช้แก้กลาก
  • ดอก ใช้แก้เกลื้อนหากคั้นน้ำจากดอกของผักปลังซึ่งมีเมือกมากมาทาช่องคลอด จะช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้นสำหรับน้ำคั้นจากผลสุกของผักปลังจะมีสีม่วงแดง ซึ่งเป็นสารจำพวกแอนโทไซยานินจึงสามารถใช้แต่งสีอาหารและขนมได้
  • ราก ใช้แก้รังแคและโรคมือเท้าด่างแก้ท้องผูก
  • ต้น ใช้แก้ฝีดาษ แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบใช้รักษาอาการแน่นท้อง ระบายท้อง
  • ก้าน ใช้แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้พรรดึกแก้ท้องผูก และลดไข้
ผลผักปลัง
เม็ดผักปลัง ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลัง

ผักปลังมีโปรตีน(2%) คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินสูงคือวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซินวิตามินซี และเบต้าแคโรทีน

การแปรรูปของผักปลัง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11731&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment