ผักปู่ย่า ผักที่มีในภาคเหนือ ยอดอ่อนและใบนำมารับประทาน

ผักปู่ย่า

ชื่ออื่นๆ : ช้าเรือด(กลาง) / ทะเน้าซอง, หนามปู่ย่า(เหนือ) / ผักกาดหญ้า(ปราจีนบุรี) / ผักขะยา(นครพนม)/ ผักคายา(เลย)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Caesalpinia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia mimosoides Lam.

ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะของผักปู่ย่า

  เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อย มีหนามและขนยาวสีน้ำตาลทุกส่วนของลำต้น กิ่งอ่อนสีน้ำตาลอมม่วงแดง ทุกส่วนมีกลิ่นเหม็น
  เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับช่อใบย่อยมี 10-30 คู่ ใบย่อยมี 10-20 คู่ กว้าง 4 มม. ยาว 10 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมเล็ก โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียว
ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลืองสด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ มีแต้มสีแดงอยู่ที่กลีบดอกบนสุด ด้านนอกมีขน
เป็นผลแห้งแตกออกเป็น 2 ซีก ผิวมีขน ปลายฝักแหลม โคนสอบ เมล็ด ขนาดเล็กหลายเมล็ด
ลำต้นผักปู่ย่า
ก้านใบสีแดง มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน

การขยายพันธุ์ของผักปู่ย่า

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ผักหนาม โดยวิธี เพาะเมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นมาก และแสงแดดส่องถึงเต็มวัน

ธาตุอาหารหลักที่ผักปู่ย่าต้องการ

ประโยชน์ของผักปู่ย่า

ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกของผักปู่ย่า ใช้รับประทานเป็นผักได้ เช่น ยอดรับประทานสดกับซุปหน่อไม้  ชาวเหนือรับประทาน ยอดอ่อน ใบอ่อนของผักปู่ย่า ส่วนดอกและยอดอ่อนนำไปปรุงเป็น “ส้าผัก” ได้โดยปรุงร่วมกับมะเขือแจ้ ยอดมะม่วงและเครื่องปรุงรสหลายชนิด

ยอดและดอกผักปู่ย่า
ดอกมีสีเหลือง รสเปรี้ยว

สรรพคุณทางยาของผักปู่ย่า

ยอดอ่อนและดอก มีรสเปรี้ยว ฝาดเผ็ดร่วมกัน จึงมีสรรพคุณ บำรุงเลือด แก้วิงเวียน และจากรายงานผลการวิจัยที่ค้นพบ พบว่า …ในผักพื้นบ้านประเภทนี้ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีสรรพคุณในการลดหรือยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของผักปู่ย่า

การแปรรูปของผักปู่ย่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www2.hrdi.or.th/royalfloraDetail/267
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment