ผักสะไล ผักไห่ มะไห่ ยอดอ่อนและผล นำมารับประทานเป็นผัก

ผักสะไล ผักไห่ มะไห่

ชื่ออื่นๆ : ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bitter Cucumber, Balsum Pear

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะของผักสะไล ผักไห่ มะไห่

เป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโมแต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบแหลม ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่างกลมแบน
ส่วนที่ใช้ : ราก เถา ใบ ดอก ผลและเมล็ด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ ผลอาจเก็บมาหั่นเป็นท่อนๆ ตากแห้งเก็บไว้ใช้
ลักษณะยาแห้ง : เนื้อผลแห้งมีลักษณะเป็นท่อนยาวกลม เนื้อหนาประมาณ 2-8 มม. ยาว 3-15 ซม. กว้าง 0.4-2 ซม. ทั้งแผ่นมีรอยย่นขรุขระ ผิวเปลือกสีเทาออกน้ำตาล ระหว่างกลางอาจมีเมล็ด หรือรอยของเมล็ดที่ร่วงไปแล้ว เนื้อแข็งหักง่าย รสขมเล็กน้อย ยาที่ดีควรมีผิวนอกสีเขียว เนื้อในสีขาว เป็นแผ่นบางมีเมล็ดติดมาน้อย

ยอดมะระขี้นก
ลำต้นเป็นเถา สีเขียว มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของผักสะไล ผักไห่ มะไห่

ใช้เมล็ด/

ธาตุอาหารหลักที่ผักสะไล  ผักไห่ มะไห่ ต้องการ

ประโยชน์ของผักสะไล ผักไห่ มะไห่

ยอดอ่อน นิยมนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ภาคอีสาน นิยมกินยอดมะระลวกกับปลาป่น ลาบ แกงอ่อมหน่อไม้ แกงเห็ดแบบพื้นบ้านเพิ่มรสขมกลมกล่อม

สรรพคุณทางยาของผักสะไล ผักไห่ มะไห่

ผลแห้ง – รักษาโรคหิด

ผล – รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน ร้อนในกระหายน้ำทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวมเป็นหนอง ฝีอักเสบ
เมล็ด – รสขม ชุ่ม ไม่มีพิษ แก้วัวถูกพิษใช้คั้นเอาน้ำให้กิน เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
ใบ – แก้โรคกระเพาะ บิด แผลฝีบวมอักเสบ ขับพยาธิ
ดอก – รสขม เย็นจัด ใช้แก้บิด
ราก – รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดถ่ายเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ และปวดฟัน
เถา – รสขม เย็นจัด ใช้แก้ร้อน แก้พิษ บิดฝีอักเสบ ปวดฟัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

ผลสด – ต้มรับประทาน ครั้งละ 6-15 กรัม หรือผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอก ตำคั้นเอาน้ำทาหรือพอก
เมล็ดแห้ง – 3 กรัม ต้มน้ำดื่ม
ใบสด – 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใบแห้งบดเป็นผงรับประทาน ใช้ภายนอกต้มเอาน้ำชะล้าง กอก หรือคั้นเอาน้ำทา
รากสด – 30-60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง
เถาแห้ง – 3-12 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือตำพอก

ข้อห้ามใช้ : พวกที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง เมื่อรับประทานเข้าไปจะอาเขียน ถ่ายท้องปวดท้อง

ตำรับยา

แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน
ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันน้ำไปตากแห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชาก็ได้

แก้ร้อนในกระหายน้ำ
ใช้ผลสด 1 ผล ขูดไส้ในออก หั่นฝอยต้มน้ำดื่ม

แก้บิด ใช้น้ำคั้นจากผลสด 1 แก้ว ผสมน้ำดื่ม
– แก้บิดเฉียบพลัน ใช้ดอกสด 20 ดอก ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งพอสมควรดื่ม บิดถ่ายเป็นเลือด ก็เพิ่มข้าวแดงเมืองจีน (อั่งคัก Monascus pur-pureus, Went.) อีก 2-3 กรัม บิดมูกให้เพิ่มอิ๊ชั่ว (ยาสำเร็จรูปชนิดหนึ่ง) 10 กรัม ผสมน้ำสุกรับประทาน
– แก้บิดปวดท้อง ถ่ายเป็นเมือกๆ ใช้รากสด 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม ถ่ายเป็นเลือด ใช้รากสด 120 กรัม ต้มน้ำดื่ม
– แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือดหรือเลือด ใช้เถาสด 1 กำมือ แก้บิดมูก ใส่เหล้าต้มดื่ม แก้บิดเลือด ให้ต้มน้ำดื่ม

แก้แผลบวม ใช้ผลสดตำพอก

แก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าดื่มแก้ฝีบวมปวดอักเสบ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก

แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอก

แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก

ขับพยาธิ ใช้ใบสด 120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำดื่ม นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม

แก้คัน แก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

ผลมะระขี้นก
ผลอ่อนสีเขียว ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา

คุณค่าทางโภชนาการของผักสะไล ผักไห่ มะไห่

สารเคมีที่พบ

ผล มี Charanthin (b – Sitosterol b – D – glucoside กับ 5,25 stigmastadien 3b – ol -b – D – Glucoside), Serotonin และ Amino acids เช่น Glutamic acid, Alanine, b – Alanine Phenylalanine, Proline, a – Aminobutyric acid, Citrulline, Galacturonic acid

เมล็ด มีความชื่น 8.6% เถ้า 21.8% Cellulose 19.5% เถ้าที่ละลายน้ำ 16.4% ไขมัน 31.0 % (ประกอบด้วย Butyric acid 1.8% Palmitic acid 2.8%, Stearic acid 21.7% Oleic acid 30%, a – Elaeostearic acid 43.7%, Momordicine, Protein

ใบสด มี Momordicine

การแปรรูปของผักสะไล  ผักไห่ มะไห่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11645&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment