ผักหนาม ยอดอ่อนต้มกินเป็นผัก เหง้ามีสรรพคุณรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลือง ไขข้อ ปวดท้อง และแมลงสัตว์กัดต่อย

ผักหนาม

ชื่ออื่นๆ : กือลี (มลายูท้องถิ่น-ยะลา)

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปบริเวณริมน้ำหรือพื้นที่ชื้น

ชื่อสามัญ : ผักหนาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lasia spinosa (L.) Thwaites

ชื่อวงศ์ : Araceae

ลักษณะของผักหนาม

ต้น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยขนานไปตามพื้นดิน มีหนามแหลมตามลำต้นมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. และชูยอดชันตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อยมีหนาม

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหัวลูกศร หรือขอบใบหยักเว้าลึกออกเป็นแฉกๆ รอยเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ มีราว 11 แฉก ใบกว้างมากกว่า 25 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 20-50 ซม. มีหนามอยู่ตามลำต้นก้านใบและบริเวณเส้นใบด้านล่าง ใบอ่อนม้วนเป็นแท่งกลมปลายแหลม

ดอก ช่อดอกเป็นแท่งมีดอกย่อยอัดแน่น กาบหุ้มช่อดอกสีน้ำตาลแทงออกมาจากกาบใบ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 75 ซม. มีหนามหรือดอกลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว จานรองดอกสีม่วงแดงบิดเป็นเกลียวเมื่อแก่มีสีม่วงคล้ำ เกสรเป็นแท่งสีขาวอยู่ตรงกลาง

ผล เป็นผลสดติดอยู่ที่โคนดอกแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก หรือออกเป็นกระจุกคล้ายบุกเตียง ผลอ่อน สีเขียวพอสุกสีเหลืองแกมแดง

ต้นผักหนาม
ต้นผักหนาม มีหนามแหลมตามลำต้น
ใบผักหนาม
ใบผักหนาม ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหัวลูกศร หรือขอบใบหยักเว้าลึกออกเป็นแฉก

การขยายพันธุ์ของผักหนาม

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ผักหนามต้องการ

ประโยชน์ของผักหนาม

ส่วนใหญ่จะเน้นการเป็นอาหาร แต่สำหรับคนที่รักความสวยงามของต้นไม้จะพบว่า ความงามของใบ ช่อดอก  และลักษณะทรงต้นของผักหนามสามารถนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้กระถางสำหรับประดับอาคารสถานที่ให้สวยงามได้ไม่ด้อยไปกว่าพืชประดับชนิดอื่นเลย

สรรพคุณทางยาของผักหนาม

สรรพคุณทางสมุนไพร หัวนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ หัว แก้ไอ ขับเสมหะ
ต้มอาบแก้คัน เพราะเหือด หัด สุกใส ดำแดง ถอนพิษ ทำให้หายเร็วขึ้น

นักวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการทดลองนำผักหนามมาบดผสมไปในอาหารเลี้ยงไก่ ทำให้ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

ข้อควรระวัง : ใบ ก้านใบ และต้นผักหนามมีสารไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic. Glycosides) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ (สารพิษชนิดหนึ่ง) ได้ โดยเป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของเลือด เมื่อได้รับพิษหรือรับประทานเข้าไปดิบ ๆ จะทำให้อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก มึนงง ไม่รู้ตัว ชักก่อนจะหมดสติ มีอาการขาดออกซิเจน ตัวเขียว ถ้าได้รับมากจะทำให้โคม่าภายใน 10-15 นาที และเสียชีวิตได้ เมื่อได้รับพิษจะต้องทำให้อาเจียนออกมา แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้อง ดังนั้นก่อนนำมารับประทานจะต้องนำไปทำให้สุกหรือดองเปรี้ยวเพื่อกำจัดพิษไซยาไนด์เสียก่อน

ดอกผักหนาม
ดอกผักหนาม ช่อดอกเป็นแท่งมีดอกย่อยอัดแน่น

คุณค่าทางโภชนาการของผักหนาม

สำหรับคุณค่าทางอาหารที่พบมากในผักหนามเมื่อนำยอดอ่อนไปวิเคราะห์ได้แก่ โปรตีน 2.20 (กรัม/100กรัม)

  • คาร์โบไฮเดรต 2.54 (กรัม/100 กรัม)
  • ใยอาหาร 1.93 (กรัม/100 กรัม)
  • แคลเซียม 75.40 (มิลลิกรัม/100 กรัม)
  • ฟอสฟอรัส 37.60 (มิลลิกรัม/100 กรัม)
  • โพแทสเซียม 353.60 (มิลลิกรัม/100 กรัม)
  • วิตามินเอ และวิตามินอี

การแปรรูปของผักหนาม

การปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน นำมาทำให้สุกโดย ลวก นึ่ง ต้ม หรือนำมาดองรับประทานเป็นผัก ร่วมกับน้ำพริก และนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงไตปลา ผัด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12090&SystemType=BEDOhttps:, www.dnp.go.th, www.th.wikipedia.org, www.stri.cmu.ac.th, www.arit.kpru.ac.th, www.blog.arda.or.th, www.srdi.yru.ac.th, www.dnp.go.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment