ผักหวานป่า สรรพคุณเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย(ราก)

ผักหวานป่า

ชื่ออื่นๆ : ผักหวาน

ต้นกำเนิด : ประเทศศรีลังกา อินเดีย จนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน

ชื่อสามัญ : ผักหวานป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis Pierre

ชื่อวงศ์ : Opiliaceae

ลักษณะของผักหวานป่า

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค

ใบ ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น

ดอก ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่

ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

ต้นผักหวาน
ต้นผักหวานป่า ไม้ยืนต้น ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของผักหวานป่า

การตอนกิ่ง, การเพาะชำไหล, การเพาะเมล็ด

วิธีการปลูกแบ่งได้ 3 วิธี คือ

1. การตอนกิ่ง การตอนกิ่งของผักหวานป่าใช้เวลานาน คือ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ผักหวานป่าจะออกรากสีน้ำตาล วิธีนี้มีข้อดี คือ กิ่งที่ได้จะมีขนาดใหญ่ตามความต้องการ

2. การเพาะชำ โดยการขุดไหลผักหวานป่าที่เกิดจากต้นแม่ หรือตัดรากผักหวานป่าที่อยู่ในดินซึ่งเป็นรากที่ขยายจากต้นแม่เป็นท่อนๆ ยายประมาณท่อนละ 5 – 6 นิ้ว นำไปเพาะชำประมาณ 1 เดือน จะเริ่มแตกกิ่งและยอด

3. การเพาะเมล็ด นำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าที่แก่เต็มที่ขูดเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้งและขัดล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำแยกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดที่จมน้ำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำคลุกด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรากันรา นำใส่กระด้งหรือตะแกรงคลุมด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำหมาดๆ เก็บในที่ร่ม 2 – 3 วัน เมื่อเปลือกเมล็ดเริ่มแตกนำไปเพาะในถุงพลาสติก ไม่ควรเจาะถุงพลาสติกด้านล่าง เพราะรากจะแทงลงดิน กดเมล็ดให้จมเสมอผิวดินนำไปไว้ใต้ร่มเงาพรางแสง 40 – 50 % เมื่อผักหวานป่าอายุ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15 – 15 – 15 ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 2 อาทิตย์ เมื่อกล้าผักหวานป่าอายุได้ 3 – 4 เดือน สามารถย้ายปลูกได้ในช่วงนี้ รดน้ำให้น้อยลงและให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดที่เพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิน 2 %  รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ 2 อาทิตย์ และงดให้น้ำ 1 วัน ก่อนย้ายปลูก ควรเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายน โดยขุดหลุมปลูกขนาด 20 x 20 x 50 เซนติเมตร ระยะปลูก 2 x 2 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักครึ่งปี๊บ ผสมกับหน้าดิน ฉีกหรือถอดถุงกล้าผักหวาน ระวังอย่าให้ดินแตกและรากขาด วางต้นกล้าลงกลางหลุมให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วพูนดินกลบโคนโดยรอบ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว โดย หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นรัศมี 20 เซนติเมตร ต้นละปี๊บ ในช่วงฤดูฝน ปีละครั้งไม่ควรใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น

เมื่อผักหวานมีอายุ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต  ตัดยอดอ่อนทีแตกออกยาวประมาณ 15 – 25 เซนติเมตรมาบริโภคหรือจำหน่าย

ธาตุอาหารหลักที่ผักหวานป่าต้องการ

ประโยชน์ของผักหวานป่า

  • ผักหนาวป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้
  • การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้
ยอดอ่อนผักหวานป่า
ยอดอ่อนผักหวานป่า นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร

สรรพคุณทางยาของผักหวานป่า

  1. ผักหวานป่าเป็นอาหารและยาประจำฤดูร้อนที่ช่วยแก้อาการของธาตุไฟได้ตามหลักแพทย์แผนไทย
  2. ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (ใบและราก)
  3. รากมีรสเย็น เป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้ (ราก)
  4. ส่วนยอดใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ลดความร้อน (ยอด)
  5. รากเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย (ราก)
  6. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนใน (ราก)
  7. ส่วนยอดมีรสหวานกรอบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน (ยอด)
  8. ยางใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว (ยาง)
  9. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบและราก)
  10. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี (ราก)
  11. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้น้ำดีพิการ (ราก)
  12. ช่วยแก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว (ราก)
  13. ใช้รักษาแผล (ใบและราก)
  14. ช่วยแก้อาการปวดในข้อ (ใบและราก)
  15. ใช้แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง (แก่น)
  16. ใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ (ต้น)

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า

ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

  • น้ำ 76.6 กรัม
  • โปรตีน 8.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดท 10 กรัม
  • เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม
  • แคโรทีน 1.6 มก.
  • วิตามินซี 115 มก.
  • ค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

การแปรรูปของผักหวานป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9542&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
http://www.bannongphi.ac.th
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment