ผักเชียงดา หรือ ผักจินดา เป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ

ผักเชียงดา

ชื่ออื่นๆ : เชียงดา, เจียงดา, ผักเจียงดา, ผักเซียงดา, ผักกูด, ผักจินดา, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่, ผักเซ็ง, ผักว้น, ผักฮ่อนไก่, ผักอีฮ่วน, เครือจันปา

ต้นกำเนิด : ผักพื้นบ้านที่พบมากในภาคเหนือของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : ผักเชียงดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของผักเชียงดา

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 ซม. เลื้อยพาดไปตามต้นไม้ใหญ่ ยาวประมาณ 5-10 เมตรมียางสีขาว  ใบเดี่ยว รูปกลมรี ปลายแหลม ใบสีเขียวเข้ม ฐานใบแหลมเรียบ ไม่มีขน ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย หน้าใบเขียวเข้มกว่าหลังใบ ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอก กลมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มม. รวมกันเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน

พันธุ์ที่พบมากคือ ผักเชียงดาสายพันธุ์ Gymnema inodorum ผักเชียงดานำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

ต้นผักเชียงดา
ต้นผักเชียงดา ไม้เถาเลื้อย มียางขาว

การขยายพันธุ์ของผักเชียงดา

ใช้เมล็ด, ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ผักเชียงดาต้องการ

ประโยชน์ของผักเชียงดา

ใบอ่อนและยอดอ่อนของผักเชียงดาสามารถนำมาเป็นอาหาร ทั้งผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่ไข่ หรือใส่ในแกงและสามารถแกงร่วมกับผักเสี้ยวได้

สรรพคุณทางยาของผักเชียงดา

  1. ช่วยลดน้ำตาล
  2. แก้ไข้และแก้หวัด
  3. ใช้รักษาอาการท้องผูกและโรคริดสีดวงทวาร
  4. ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ ที่ตกค้างในร่างกาย
  5. ช่วยฟื้นฟูและบำรุงตับอ่อนให้แข็งแรง
  6. ช่วยลดน้ำหนัก
  7. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อและปวดกระดูก
  8. ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และโรคหอบหืด

สารสำคัญในผักเชียงดาที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เป็นกลุ่มไตรเทอปินอยด์ซาโปนินหลายชนิด เช่น กรดที่มีชื่อเคมียาว ( 3 bet, 4 alpha , 16 beta)-16, 23, 28-trihydroxyolean-12-ene-3-yl-beta-D-glucopyranuronic acid และอนุพันธ์ของกรดนี้อีกหลายชนิด ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้จะช่วยต้านการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ โดยไม่มีรสฝาดและขมจนเกินไป ทั้งยังไม่กดความหวานด้วย นอกจากนั้นยังพบปริมาณวิตามินซีและวิตามินอีสูง รวมทั้งคาโรทีนอยด์และสารกลุ่มฟีนอลิค ซึ่งทำให้ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำคั้นใบสด

การวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยของนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพปกติรับประทานผักเชียงดาพบว่า ลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้และการบริโภคติดต่อกันนาน 28 วันไม่ทำให้เกิดอาการน้ำตาลต่ำกว่าปกติหรือตับอักเสบ

ผักเชียงดา
ผักเชียงดา ใบเดี่ยว รูปกลมรี ปลายแหลม ใบสีเขียวเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดาปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี

  • น้ำ 82.9 กรัม
  • โปรตีน 5.4 กรัม
  • ไขมัน 1.5 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 8.6 กรัม
  • กากใยอาหาร 2.5 กรัม
  • เถ้า 1.6 กรัม
  • แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 78 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 984 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม
  • ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม

การแปรรูปของผักเชียงดา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11462&SystemType=BEDO
www.wattano.ac.th
www.ananhosp.go.th
www.stri.cmu.ac.th
www.flickr.com

5 Comments

Add a Comment