ผักเสี้ยนผี ผักส้มผี ไม้ล้มลุก ลำต้นจะมีขนอ่อนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้นและมีเมือกเหนียว

ผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

ชื่ออื่นๆ : ผักส้มผี, ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย, ไปนิพพานไม่รู้กลับ

ต้นกำเนิด : ทุกภาคของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : ผักเสี้ยนผี Wild Spider flower, Phak sian phee.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome viscosa L.

ชื่อวงศ์ : CLEOMACEAE

ลักษณะของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มี ขนาดเล็ก หรือจัดอยู่ในจำพวกหญ้า แตกกิ่งก้านสาขาตามลำต้นจะมีขนอ่อนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้นและมีเมือกเหนียว ๆอยู่ภายในลำต้น

ใบ ใบเป็นใบรวม ช่อหนึ่งจะมีใบอยู่ 3 – 5 ใบ ซึ่งจะออกสีเขียวอมเหลือง ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ เนื้อในบางนุ่ม ตามผิวใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมเช่นกัน มีกลิ่นฉุน กว้าง 0.5 – 1 นิ้ว ยาว 0.5 – 2 นิ้ว

ดอก ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวแหลม ดอกมีสีเหลืองบาง ที่ปลายดอกมีจงอยแหลม และมีขนปกคลุมอยู่เล็กน้อย

ผล ผลเป็นฝักยาว คล้ายฝักถั่วเขียว แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ตรงปลายผลมีจงอยแหลม ผลกว้างประมาณ 2 – 4.5 มิลลิเมตร ยาว 1 – 4 นิ้ว เมล็ดเมล็ดในผลมี สีน้ำตาลแดง ผิวย่น ใน 1 ผล มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีรูปร่างกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร

ต้นผักเสี้ยนผี
ต้นผักเสี้ยนผี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาตามลำต้นจะมีขนอ่อนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้น
ดอกผักเสี้ยนผี
ดอกผักเสี้ยนผี ดอกสีเหลือง ที่ปลายดอกมีจงอยแหลม และมีขนปกคลุม

การขยายพันธุ์ของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักเสี้ยนผี, ผักส้มผีต้องการ

ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

ผักเสี้ยนมีน้ำมันหอมระเหย (Volatic Oil) ประกอบด้วย Cyanide ซึ่งจะมีผลระบบทางเดินโลหิต และสารไฮโดรไซยาไนด์ (Hydrocyanide) ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังมีกลิ่นเหม็นเขียวอย่างแรง เด็กรุ่นใหม่พอเข้าใกล้ได้กลิ่นผักเสี้ยนก็มักจะไม่ชอบ จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้คุณประโยชน์และภูมิปัญญาที่ว่าทำไมคุณย่า คุณยาย รวมถึงคุณแม่ด้วยจึงชอบผักเสี้ยนดองนัก

สรรพคุณทางยาของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

  • ต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
  • ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ
  • ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV
  • เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง

ในตำรายาโบราณ

นำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต สรรพคุณดีมาก นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่เป็น

คุณค่าทางโภชนาการของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

การแปรรูปของผักเสี้ยนผี, ผักส้มผี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12243&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment