ผักแต้ว ผักติ้ว ยอดอ่อนใบอ่อนมีรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำแกงและต้มยำ

ผักแต้ว

ชื่ออื่นๆ : ติ้ว, ผักแดง

ต้นกำเนิด : พบแพร่กระจายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ในส่วนของประเทศไทยสามารถพบได้ในทุกภาค แต่จะพบมากในแถบภาคเหนือ และแถบภาคอีสาน ตามป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งหรือป่าเต็งรัง

ชื่อสามัญ : ผักแต้ว ผักติ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของต้นแต้ว

ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา

ใบ ใบมนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาด กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบโตออกปลายสุดสอบเข้าเนื้อบางหลังใบมีขนสองท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น

ดอก ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นดอก ผลรูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล

ผักติ้ว
ผักติ้ว เนื้อใบบางหลังใบมีขนสองท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น

การขยายพันธุ์ของผักแต้ว

ใช้เมล็ด
เก็บเมล็ดติ้วที่แก่จัด ซึ่งเป็สีดำนำมาตากแดดให้แห้งจนแตก หรือใช้ค้อนทุบเบา ๆ ให้เปลือกแตก แล้วนำมาล่อนเอาแแต่เมล็ด นำเมล็ดไปหว่านลงในแปลงเพาะ แล้วโรยดินกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดติ้วจะทยอยงอก ภายในระยะเลา ประมาณ 2 เดือน เมื่อต้นกล้ามีใบจริง2-3 ใบก็สามารถย้ายกล้าลงถุงเพาะชำได้

การเตรียมวัสดุบรรจุถุงเพาะกล้าผักติ้ว ใช้ส่วนผสม ดินร่วน 3 ส่วน ต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน

นำต้นกล้าไว้ในโรงเรือนที่มีต่ข่ายพรางแสง หรือใต้ต้นไม้ที่มีร่มเงา ทำการบำรุงรักษากล้าด้วยการรดน้ำ
กำจัดวัชพืช และให้ปุ๋ยทางใบบางครั้งจะทำให้ต้นกล้าแข็งแรง

ธาตุอาหารหลักที่ผักแต้วต้องการ

ผักติ้วเมื่อนำไปปลูกต้องหมั่นเด็ดยอดและให้น้ำเป็นประจำจะทำให้แตกยอดอ่อนให้บริโภคได้ตลอดปี

ประโยชน์ของผักแต้ว

  • ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล ยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานเป็นผักได้ มีรสเปรี้ยว
  • ยอดอ่อนและใบอ่อนผลิในหน้าฝนและหน้าหนาว ส่วยดอกออกสะพรั่งในช่วงปลายฤดูหนาว ฤดูร้อน ถึงต้นฤดูฝน
  • นิยมเก็บยอดอ่อน ดอกอ่อน นำมาทำแกงและต้มยำได้
ดอกผักติ้ว
ดอกผักติ้ว ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง

สรรพคุณทางยาของผักแต้ว

  • ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต (ยอด,ใบอ่อน,ดอก,เถา)
  • เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินแก้ธาตุพิการ ช่วยแก้ประดง
  • ผักติ้วเป็นผักที่มีวิตามินเอสูง จึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นตาบอดกลางคืน และโรคตาไก่ ช่วยขับลม
  • รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ
  • ต้นและยางจากเปลือกต้น ใช้ทาแก้อาการคัน

คุณค่าทางโภชนาการของผักแต้ว

ผักติ้ว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

  • เส้นใย 1.5 กรัม
  • แคลเซี่ยม 67 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 2.5 มิลลิกรัม
  • เบต้า-แคโรทีน 4500 ไมโครกรัม
  • วิตามินเอ 750 ไมโครกรัมของเรตินอล
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.67 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 3.1 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

มีกรดคลอโรเจนนิคที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นอกนั้น ผักอื่นก็จะอุดมด้วยวิตามิน บี ซี เค แร่ธาตุต่าง ๆ เส้นใย เช่นเดียวกับผักอื่น ๆ

การแปรรูปของผักแต้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9415&SystemType=BEDO
http:// webdb.dmsc.moph.go.th

Add a Comment