ฝาด ไม้ต้นกึ่งไม้พุ่ม เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน

ฝาด

ชื่ออื่นๆ : ฝาด, ขวาด, กะลูง

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปตามสภาพป่าชายแดนบริเวณปากแม่น้ำชายฝั่งทะเล

ชื่อสามัญ : ฝาดดอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lumnitzera racemosa

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะของฝาด

ไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร มีรากหายใจรูปเข่า ลำต้นตรง เนื้อแข็ง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลอ่อน

ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ หนาแน่นที่ปลายกิ่ง เนื้อใบหนามันคล้ายแผ่นหนังทั้งสองด้าน อวบน้ำ รูปไข่กลับ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ปลายใบกลมเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่

ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ฐานรองดอกและหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6-0.9 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบถึงรูปใบหอก สีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่ากับกลีบดอก ออกดอกตั้งแต่ประมาณเดือน พฤศจิกายน ติดต่อไปจนถึงเดือนมีนาคม ระยะการเป็นดอกผล ตั้งแต่ประมาณเดือน พฤศจิกายน ติดต่อไปจนถึงเดือนมีนาคม

ผล รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-1.3 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยง

ฝาด
ฝาด เนื้อใบหนามัน ดอกสีขาว

ฝาดดอกแดง (Lumnitzera littorea) ชอบขึ้นในที่ดอนหรือพื้นที่ค่อนข้างสูง ลำต้นสีดำ เปลือกแตกเป็นร่อง ดอกสีแดงจัดและออกเป็นกระจุกช่อดอกเกิดที่บริเวณปลายกิ่ง ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemora ) ต่างกับฝาดดอกขาวที่ชอบขึ้นในที่ดินค่อนข้างแข็ง ส่วนลำต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลอ่อนและที่สำคัญออกดอกเป็นสีขาวเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของฝาด

ใช้เมล็ด/การเพาะด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ฝาดต้องการ

ประโยชน์ของฝาด

  • เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน
  • เปลือก นำมาทุบแช่น้ำให้สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์

สรรพคุณทางยาของฝาด

คุณค่าทางโภชนาการของฝาด

การแปรรูปของฝาด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10789&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment