ฝ้ายแดง ไม้พุ่มขนาดกลาง ดอกสีแดงเข้ม มีสรรพคุณทางยา

ฝ้ายแดง

ชื่ออื่นๆ : ฝ้ายแดง

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียในเขตร้อนและกึ่งร้อน และทวีปแอฟริกา

ชื่อสามัญ : Ceylon Cotton , Chinese Cotton , Tree Cotton

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gossypium arboreum Linn.

ชื่อวงศ์ : Malvaceae

ลักษณะของฝ้ายแดง

ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2.5-3.5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดง

ใบ ใบเดี่ยวออกเวียนสลับ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ขอบหยักลึก 3-7 แฉก ปลายแหลมหรือมน โคนเว้า ก้านใบและเส้นใบสีแดงคล้ำ

ดอก สีแดงเข้ม หรือ สีเหลืองอ่อน กลางดอกสีม่วงแดง ออกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3 ใบ รูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมกันเป็นหลอดล้อมรอบเกสรตัวเมีย ปลายเกสรตัวเมียแยกเป็น 5 แฉก

ผล กลม หัวท้ายแหลม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ดค่อนข้าง กลมสีเขียว จำนวนมากคลุมด้วยขนยาวสีขาว

ต้นฝ้ายแดง
ต้นฝ้ายแดง ไม้พุ่ม ขอบใบหยัก

การขยายพันธุ์ของฝ้ายแดง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ฝ้ายแดงต้องการ

ประโยชน์ของฝ้ายแดง

นํ้ามันจากเมล็ดใช้ในการเตรียมสบู่ และใช้เป็นนํ้ามันหล่อลื่น

สรรพคุณทางยาของฝ้ายแดง

ส่วนที่ใช้ : เปลือกราก, ใบ,  เมล็ด

เปลือกราก – บดเป็นผง ชงน้ำเดือดดื่มช่วยขับปัสสาวะ บีบมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา
ใบ – ปรุงเป็นยารับประทานแก้ไข้ ขับเหงื่อ จำพวกยาเขียว และเป็นยาเด็ก แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี
เมล็ด ใช้รักษาโรคหนองใน
ราก ทำให้ประจำเดือนปกติ ขับนํ้าคาวปลาในคนหลังคลอด บีบมดลูกทำให้แห้ง

ดอกฝ้ายแดง
ดอกฝ้ายแดง ดอกสีแดงเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของฝ้ายแดง

การแปรรูปของฝ้ายแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11565&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment