พลู ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบของพลูมีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก และใช้ในพิธีมงคลต่างๆ

พลู

ชื่ออื่นๆ : พลู, พลูจีน, เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (ใต้) ซีเก๊ะ, ซีเก, เปล้ายวน, ปู, ดื่อเจี่ย

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ : Betel Piper

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle Linn.

ชื่อวงศ์ : Piperaceae

ลักษณะของพลู

ต้น ไม้เถา เนื้อแข็ง เป็นไม้เลื้อยระบบรากฝอย (fibrous root system) เกิดตามข้อใช้หาอาหารและยึดเกาะ ซึ่งรากหาอาหารจะอยู่ในดินทำหน้าที่ดูดน้ำและอาหารจากดินมาเลี้ยงลำต้น มีรากขนาดใหญ่ประมาณ 6 รากและมีรากแขนงแตกแยกออกไปเป็นวงกว้างตามขนาดของทรงพุ่มและจะหยั่งลึกลงไปในดิน ส่วนรากยึดเกาะบางครั้งเรียกว่ารากตีนตุ๊กแก จะแตกออกตามข้อทำหน้าที่ยึดเกาะกับเสาหรือหลักหรือวัตถุค้ำยันเพื่อให้ลำต้นสูงขึ้นไปและไม่ให้ลำต้นหลุดร่วงออกได้ง่าย รากชนิดนี้ไม่ทำหน้าที่หาอาหาร ปกติเป็นรากใหม่อ่อนๆ ลำต้น เป็นเถาเลื้อย ลักษณะของลำต้นอวบน้ำมีร่องเล็กๆ สีน้ำตาลยาวขนานไปตลอดลำต้น สันร่องมีสีเขียว มีข้อและปล้องชัดเจน เจริญยึดเกาะกับเสาหรือไม้ค้ำยันหรือหลัก ทุกส่วนมีกลิ่นหอมเฉพาะ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อใบ ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ฐานใบมนหรือค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเข้มกว่าใบด้านล่าง เรียบและเป็นมัน มีเส้นใบประมาณ 5-7 เส้น เส้นใบด้านบนจะบุ๋มลงไปตลอดแผ่นใบ ส่วนผิวใบด้านล่างจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจน ใบอ่อนจะเป็นสีเขียวและใบแก่สีจะเข้มขึ้น และมีกลิ่นฉุน

ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบแกนห้อยลงที่ซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ไม่มีก้าน รูปร่างของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกออกเป็นกลุ่มเรียงอยู่บนก้านช่อดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะแยกกันอยู่คนละดอก

ผล ลักษณะผลรูปทรงกลม เป็นผลมีเนื้อ เบียดกันแน่นอยู่บนแกน เมื่อสุกมีสีแดง

เมล็ด รูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรีคล้ายรูปไข่

พลู
พลู ไม้เลื้อยมีข้อราก รอบข้อใช้เกาะติดไม้ใหญ่

การขยายพันธุ์ของพลู

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ใช้ลำต้นที่มีข้อ 3-5 ข้อ ปักชำจนราออกมาดีแล้วจึง ย้ายไปปลูกในหลุมทำค้างให้เถาเลื้อยด้วย คอยดูแลความชุ่มชื้น

มีการปลูกพลูกันเป็นพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ตลาดพลู ฝั่งธนบุรี เริ่มจากชาวอิสลามที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้มาตั้งแต่ต้นยุครัตนโกสินทร์ จนกลายมาเป็นแหล่งค้าขายพลูแหล่งใหญ่ จนกระทั่งได้ขยายไปยังชาวไทยและชาวจีนด้วย แม้ปัจจุบันความนิยมกินหมากและพลูจะลดน้อยลงไปตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงมีพื้นที่ปลูกพลูอยู่

ดอกพลู
ดอกพลู ดอกสีขาว รูปทรงกระบอก

ธาตุอาหารหลักที่พลูต้องการ

ประโยชน์ของพลู

  • ใบของพลูนั้นมีรสเผ็ดร้อน เป็นที่รู้จักกันดีว่านิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก โดยเฉพาะในคนรุ่นก่อน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ใบพลูที่มีสีเขียวเข้มมากกว่าใบที่สีออกเหลืองทอง นอกจากนี้แล้วยังใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ
  • น้ำคันจากใบพลูสด รสเผ็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ ยาระบายอาการท้องผูก ยาเจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดไข้ แก้ปวดศรีษะ ขับลมในกระเพาะอาหาร ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น เป็นยาสมานแผล และใช้ป้องกันเชื้อจุลินทรีย์แก้อาการผื่นคัน ลมพิษ แพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด แก้ตาแดง แก้วิงเวียน
  • ราก ใช้รักษาโรคเอดส์

ส่วนที่ใช้ คือ ใบสด มีรสแผ็ดร้อนเป็นยาฆ่าเชื้อโรค ขับลม ใช้ใบพลูตำกับ เหล้าทาบริเวณที่เกิดเป็นลมพิษหายได้ ใช้รับประทานกับหมากและปูนแดง

วิธีใช้ ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กับต่อยได้ผลดีมาก กับอาการแพ้ในลักษณะลมพิษ โดยการนำใบพลูสัก 1-2 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรงทาบริเวณที่เกิดลมพิษห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก

ใบพลู
ใบพลู ผิวมัน ปลายใบแหลม

สรรพคุณทางยาของพลู

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบพลูมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย Chavicol ,Chavibitol , cineol eugenoi carvacrol B-sitosterol และที่อื่นๆสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการฆ่าเ ชื้อโรคได้ ทำให้ปลายประสาทชา แก้อาการคันได้ดี จากสารประกอบอาจจะเป็นสารพวก B-sitosterolที่ช่วยในการลดอาการอักเสบ

นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพรแก้ลมพิษ รักษาอาการคัน ในใบพลูมีสารยูจีนอลและชาวิคอล มีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีประโยชน์ในการระงับอาการคันและเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อย ช่วยฆ่าและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง และมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังและกลาก และพบว่าน้ำมันพลูสามารถฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ สารเบตาสเตอรอล มีฤทธิ์แก้แพ้ แก้อักเสบ นอกจากนี้ พลูยังมีสรรพคุณใช้แก้การอักเสบของเยื่อจมูกและคอ แก้กลาก แก้ฮ่องกงฟุต แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบท้องเด็ก แก้ปวดท้องและแก้ลูกอัณฑะยาน

ใบของพลู
ใบของพลู มีรสเผ็ดร้อน ใช้เคี้ยวกับหมาก หรือทำบายศรี

คุณค่าทางโภชนาการของพลู

คุณค่าทางสารอาหารของพลู ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ชาวิคอล, ยูจินอล, เบตาซิโตสเตอรอล และซินีออล เป็นต้น

การแปรรูปของพลู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11166&SystemType=BEDO
http://pharmacy.su.ac.th
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment