พันซาด ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง ทำเสาบ้าน

พันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

ชื่ออื่นๆ : ซาก, ซาด, พันซาด (เหนือและอีสาน); ผักฮาก (ภาคเหนือ); เตรีย (สุรินทร์)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : พันซาด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythophleum succirubrum Gagnep

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

ไม้ต้นขนาดกลาง ความสูง 21.6 เมตร ความกว้างทรงพุ่ม 4 เมตร รูปร่างทรงพุ่ม รูปทรงกระบอก ลำต้น เป็นลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง ผิวลำต้นแตกเป็นสะเก็ด เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นแก่สีเขียวแกมดำ ไม่มีน้ำยาง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวแก่ ขนาดแผ่นใบกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 5.2 เซนติเมตร

ใบ เรียงสลับระนาบเดียว แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี ปลายใบเว้าตื้น โคนใบเฉียง ขอบใบเรียบ

ผล เป็นผลแห้ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลเป็นฝักคล้ายสะตอ ยาว 12-18 ซม. สูงประมาณ 20 – 35 เมตร เมล็ดแบน   มีจำนวน 3-4 เมล็ดต่อผล

ต้นพันซาด
ต้นพันซาด ลำต้นตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นสะเก็ด

การขยายพันธุ์ของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบงต้องการ

ประโยชน์ของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

ไม้ใช้ก่อสร้างทำบ้าน ลำต้นนำมาทำเสาบ้าน คาน

สรรพคุณทางยาของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

สรรพคุณ ตามตำรายาไทยใช้ ต้น แก้ไข้ทีมีพิษร้อน กระสับกระส่าย แก้ไข้เชื่อมซึม เนื้อไม้ แก้ไข้ ไม้ซากมีพิษถึงตายได้ ถ้าจะนำไปปรุงยา ต้องเผาถ่าน ถ่านไม้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้โรคผิวหนัง แก้โรคในเด็ก ดับพิษตานซาง ไม่ระบุส่วนใช้ แก้พิษไข้ ไข้เชื่อมซึม แก้ไข้สันนิบาต ดับพิษโลหิต แก้โรคเด็ก การศึกษาทาง วิทยาศาสตร์ พบว่า มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นการหดตัว ของ กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย คล้ายกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย เพิ่มความดันโลหิต เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ตาย

ความหลากหลายของสายพันธุ์พืชในประเทศไทยมีค่อนข้างสูง บางชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางชนิดอาจแตกต่างกันแค่ลักษณะใบ ดอก หรือผล บางชนิดก็เหมือนกันจนแทบจะหาความแตกต่างในการจำแนกไม่ได้ ดังนั้นหลายกรณีของการได้รับพิษก็เนื่องมาจากการเข้าใจพิษคิดว่าพืชพิษเป็นพืชที่กินได้ และกรณีที่พบบ่อยมักจะเป็นเด็ก ในกรณีของพันซาดหรือซากก็เช่นกัน ผู้ที่รับประทานเข้าไปคิดว่าเมล็ดของพันซาดเป็นเมล็ดของไม้แดง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก แต่เมล็ดของไม้แดงจะเล็กกว่า

อาการเริ่มแรกของรับประทานเมล็ดซากคือ อาเจียน ซึ่งอาการมักจะเกิดหลังจากกินประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หลังจากนั้นจะมีผล ต่อระบบประสาท อาจเกิดจากพิษโดยตรง หรืออาจเกิดจากผลทางอ้อม ที่หัวใจทำงานผิดปกต กินแล้วเลือด ไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพอ

ใบและผลพันซาด
ใบแผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี ผลแก่ แห้งกลมแบน

คุณค่าทางโภชนาการของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

การแปรรูปของพันซาด พันชาด ซาด คราก เตรีย ตะแบง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11366&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment