พิมเสนต้น ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมฉุน

พิมเสนต้น

ชื่ออื่นๆ : ใบพิมเสน, ผักชีช้าง, ใบหลม ใบอีหรม (ภาคใต้), ฮั่วเซียง ก่วงฮั่วเซียง (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด : ประเทศฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และในประเทศมาเลเซีย

ชื่อสามัญ : พิมเสนต้น  Patchouli

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pogostemon cablin (Blanco) Benth.

ชื่อวงศ์ : Labiatae

ลักษณะของพิมเสนต้น

เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรงกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม โดยจะแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณยอดต้น ทั้งต้นเมื่อนำมาขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมฉุน และมีขนสีเหลืองปกคลุมอยู่ทั้งต้น  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ใบที่โคนต้นจะมีขนาดเล็กกว่าที่บริเวณยอดต้น แผ่นใบมีขนสีเทาอ่อนปกคลุมทั้งหน้าใบและหลังใบ โดยเฉพาะตรงส่วนของเส้นใบจะมีขนปกคลุมอยู่มาก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกยาวได้ประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มอยู่ 4 ใบ ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 4 ก้านผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่ยาว

พิมเสนต้น
พิมเสนต้น ใบรูปไข่ ใบมีขนสีเทาอ่อนปกคลุมทั้งหน้าใบและหลังใบ

การขยายพันธุ์ของพิมเสนต้น

ตัดลำต้นปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่พิมเสนต้นต้องการ

ประโยชน์ของพิมเสนต้น

กิ่งและใบแห้งเมื่อนำมาใส่ไว้ในตู้เสื้อผ้าจะช่วยทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยป้องกันแมลงมากัดเสื้อผ้าได้
ใบมีกลิ่นหอมใช้กลั่นทำน้ำหอมได้ และยังใช้เป็นสารช่วยให้น้ำหอมมีกลิ่นติดทนดีและนาน

สรรพคุณทางยาของพิมเสนต้น

ใบ – ปรุงเป็นยาเย็น ถอนพิษร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง โดยมากมักปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และยาหอมก็เข้าใบพิมเสนต้นนี้

คุณค่าทางโภชนาการของพิมเสนต้น

การแปรรูปของพิมเสนต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11471&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment