ข่อยหิน หรือ พุดผา ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก

พุดผา

ชื่ออื่นๆ : ข่อย (สน) มือเสือ (สระบุรี) ข่อยหิน, พุดผา, สามพันตา (อุบลราชธานี) ปัดหิน, ข่อยโคก, ข่อยด่าน

ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาตตะวันออก และภาคกลางของไทย

ชื่อสามัญ : Silver Gardenia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia saxatilis Geddes

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของพุดผา

ต้น   เป็นไม้พุ่มขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขามากและตั้งฉากกับลำต้น สูง 2-4 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล

ต้นพุดผา
ต้นพุดผา เปลือกต้นสีขาวนวล ลำต้นตั้งตรง

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับฉาก รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมใบหอกกลับ กว้าง 2-4 เซนติมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายใบโค้งกลม แผ่นใบมีขน ผิวใบสากมือ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน

ใบพุดผา
ใบพุดผา แผ่นใบมีขน ผิวใบสากมือ หลังใบสีเขียวเป็นมัน

ดอก ดอกเดี่ยว สมบูรณ์เพศ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย กลิ่นหอม ก้านดอก และกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ มีขนสีขาว เกสรเพศผู้มี 6 อัน ฐานติดอยู่ด้านในของกลีบดอก เป็นแผ่นเรียว เกสรเพศเมีย รังไข่มี 2 ห้อง ออกดอกราวเดือนเมษายน จัดเป็นพืชหายาก

ดอกพุดผา
ดอกพุดผา ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ

ผล ทรงกลมรี ยาว 2.5 เซนติเมตร ปลายผลมีครีบแหลม ของกลีบเลี้ยงติดอยู่ 6 แฉก ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีส้ม เมล็ดเดียว หุ้มด้วยเยื่อสีส้ม

ผลพุดผา
ผลพุดผา ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีส้ม กลีบเลี้ยงติดอยู่ 6 แฉก

การขยายพันธุ์ของพุดผา

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง, การปักชำกิ่ง

พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-700 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่พุดผาต้องการ

ประโยชน์ของพุดผา

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ใช้ทำยาสมุนไพร
  • เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ทำตลับ แกะสลัก เช่น ตราประทับ ตัวหมากรุก ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้บรรทัด ไม้ฉาก และกระสวย ไม้บุผนังที่สวยงาม และให้สีเหลืองนวล

สรรพคุณของพุดผา

หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี

  • เนื้อไม้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้เบื่อเมา แก้พิษ ช่วยถอนพิษเห็ดเมา
  • เปลือกต้น แช่เหล้าพอท่วม เอาส่วนน้ำทา แก้อัมพาต ปวด ชา ตามแขนขา
  • ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้เบื่อเมา

คุณค่าทางโภชนาการของพุดผา

การแปรรูปพุดผา

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, www.thaibiodiversity.org
ภาพประกอบ :  www.flickr.com

One Comment

Add a Comment