ฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้) ไม้เถาเลื้อยไปตามดิน นำมาทำอาหารได้หลายชนิด

ฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

ชื่ออื่นๆ : หมากอึ (ภาคอีสาน) มะฟักแก้ว, ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว, หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : Pumpkin

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Decne.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ลักษณะของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

ต้น เป็นพืชล้มลุก มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมมน ผิวเป็นร่องตามความยาว มีขนอ่อน ๆ มีหนวดสำหรับยึด เกาะยึดบริเวณข้อ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับกัน โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนทั้ง 2 ด้านของตัวใบ

ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายระฆังหรือกระดิ่งออกบริเวณง่ามใบผลมีขนาดใหญ่

ผล มีลักษณะเป็นพูเล็ก ๆ โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟู ๆ มีรูปร่างคล้ายไข่ แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ

นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว

ฟักทอง
เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกสีเหลือง
ผลฟักทองอ่อน
ผลฟักทองอ่อน ผลสีเขียว

การขยายพันธุ์ของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)ต้องการ

ประโยชน์ของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

  • ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณและสายตาอีกด้วย
  • ฟักทองนำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่แกงเลียง แกงส้มเปรอะ แกงส้ม เป็นต้น
  • เนื้อใช้ทำอาหารได้ทั้งคาว-หวาน ทั้งผัด-แกง-ขนม และใช้เป็นอาหารเสริมในเด็กเล็ก รวมทั้งดัดแปลงมาใช้โรยหน้าหรือปนในขนมต่างๆ ทำให้มีสีสันสวยงาม และมีคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น
ผลฟักทอง
ผลฟักทอง ผลกลม ผิวขรุขระเล็กน้อย

สรรพคุณทางยาของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

ฟักทองมีเบต้า-แคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เมล็ดฟักทอง ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ป้องกันและรักษาโรคนิ่ว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ช่วยขับพยาธิตัวตืด น้ำมันจากเมล็ดช่วยบำรุงประสาท ราก ต้มดื่มเป็นยาบำรุงและแก้ไอ

เนื้อฟักทอง
เนื้อฟักทอง เนื้อสีเหลือง มีเมล็ดด้านใน

คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

เนื้อและเปลือกฟักทอง 100 กรัม ให้พลังงาน 43 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • เส้นใย 1.7 กรัม
  • แคลเซียม 21 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 3,266 IU.
  • วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 52 มิลลิกรัม

การแปรรูปของฟักทอง หรือ น้ำเต้า (ภาคใต้)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11078&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th
www.flickr.com

8 Comments

Add a Comment