มณฑาป่า ดอกสีม่วงอมแดง ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

มณฑาป่า

ชื่ออื่นๆ : มณฑาดอย, มะองนก, ปอนาเตอ

ต้นกำเนิด : เป็นไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะภาคเหนือของไทยในป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,000-1,900 ม. ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก พิษณุโลก ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และในเวียดนาม

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manglietia garrettii Craib

ชื่อวงศ์ : Magnoliaceae

ลักษณะของมณฑาป่า

ต้น มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูง 20-25 ม. เปลือกหนา สีเทา มีกลิ่นฉุน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 18-30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม หรือแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา เหนียว คล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมันวาว ด้านล่างเคลือบขาว

ดอก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามปลายกิ่ง ดอกสีม่วงอมแดง ดอกมี 9 กลีบ กลีบหนา แข็ง อวบน้ำ เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 ซม. ดอกบาน 2-3 วัน ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

ผล (ฝัก)เป็นผลกลุ่มรูปไข่หรือทรงกระบอก สีน้ำตาล กว้าง 6-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ผลแก่ห้อยลง มีผลย่อยจำนวนมากเรียงกันอยู่บนแกนยาวอันเดียวกัน ผลย่อยแข็ง ยาว 1-1.5 ซม. เมล็ดสีแดง ลักษณะเมล็ดยาวรีและค่อนข้างแบน ขนาด 0.7-1 ซม. ผลย่อยแต่ละผลมี 1-4 เมล็ด ผลแก่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

ต้นมณฑาป่า
ต้นมณฑาป่า ไม้ต้นเปลือกหนา ใบรูปรีแหลม
ดอกมณฑาป่า
ดอกมณฑาป่า ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกสีม่วงอมแดง

การขยายพันธุ์ของมณฑาป่า

การเพาะเมล็ด, ทาบกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่มณฑาป่าต้องการ

ประโยชน์ของมณฑาป่า

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

สรรพคุณทางยาของมณฑาป่า

คุณค่าทางโภชนาการของมณฑาป่า

การแปรรูปของมณฑาป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9515&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment