มะกอกพราน ผลใช้ย้อมสีย้อมตอกในการจักสาน

มะกอกพราน

ชื่ออื่นๆ : มะกอกพราน (ภาคกลาง) ขาเปี๋ย (น่าน) โคนาเค่ (กระเหรี่ยง เชียงใหม่) ซอเส่ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะกอกฟาน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปตามป่าผลัดใบและป่าดิบเขา ที่ความสูง 400-1,600 ม. บริเวณชายป่าที่ค่อนข้างชื้น

ชื่อสามัญ : Turpinia pomifera (Roxb.) DC.

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Turpinia pomifera DC.

ชื่อวงศ์ : STAPHYLEACEAE

ลักษณะของมะกอกพราน

ต้น   เป็นไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกนอกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมน้ำตาล เปลือกในสีน้ำตาล

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนทู่หรือสอบแคบ ขอบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำ เสมอ แผ่นใบหนา เกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบสั้น เรียงตรงข้าม ยอดและ ใบอ่อนสีม่วง

ใบ-ดอกมะกอกพราน
ใบรูปรี ปลายแหลม ดอกสีเหลืองอ่อน

ดอก  ช่อดอกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือสีครีม ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

ผล  ผลสดกลมหรือบิดเบี้ยว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา สุกสีเหลืองอมเขียว ก้านผลยาว ติดผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

ผลมะกอกพราน
ผลมะกอกพราน ผลกลม เปลือกหนา

การขยายพันธุ์ของมะกอกพราน

การใช้เมล็ด

เป็นไม้ชั้นล่างถึงชั้นกลางในป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดิบประเภทอื่นและพบประปรายในป่าเบญจพรรณชื้น

ธาตุอาหารหลักที่มะกอกพรานต้องการ

ประโยชน์ของมะกอกพราน

  • ยอดอ่อนและใบอ่อนทำ ให้สุกกินเป็นผัก
  • ผลสุกเป็นอาหารของเก้งและกวาง
  • ผลใช้ย้อมสี ย้อมตอกในการจักสาน ให้มีสีดำ

สรรพคุณทางยาของมะกอกพราน

เปลือก ต้น ใบ รสเฝื่อน ตำทาแก้ปวดบวมตามข้อเนื่องจากไขข้ออักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอกพราน

การแปรรูปของมะกอกพราน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th, www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

Add a Comment