มะพร้าวน้ำหอม น้ำมีรสหวานและกลิ่นหอมเนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม

มะพร้าวน้ำหอม

ชื่ออื่นๆ : มะพร้าวน้ำหอม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Sweet Young Coconut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera Linn

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของมะพร้าวน้ำหอม

ต้น เป็นพืชยืนต้น ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีทางใบสั้นแผ่กระจายรอบลำต้น เมื่อมองทรงพุ่ม จากภายนอก จะคล้ายรูปวงกลม จั่น มีจั่นอยู่ทุกโคนทางและที่จั่นมีผลมะพร้าวทุกขนาดอายุติดอยู่

ผล มีผลโตสม่ำเสมอทั้งละลาย น้ำหนักผลประมาณ 900 กรัมต่อผลผลยาวรีเล็กน้อย และตรงกันเป็นจีบเล็กน้อย น้ำมีรสหวานและ กลิ่นหอมเนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม  จึงเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด ในบรรดามะพร้าวที่ปลูกเพื่อขายผลอ่อน เป็นมะพร้าวที่ให้ผลเร็วติดผลดกและต้นเตี้ย การบานของดอกตัวผู้และดอกตัวเมียใกล้เคียงกัน จึงผสมตัวเอง แทนที่จะผสมข้ามต้นแบบมะพร้าวต้นสูง ทำให้มะพร้าวน้ำหอมไม่ค่อยกลายพันธุ์ ให้ผลผลิตในช่วงเดือนเมษายน

มะพร้าวน้ำหอม
ผลทรงกลม หรือทรงรี เปลือกมีสีเขียว

การขยายพันธุ์ของมะพร้าวน้ำหอม

ขยายพันธุ์ด้วยผล

ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม คือระยะระหว่างต้น x ระยะระหว่างแถว 6×6 เมตร ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในปีแรก ควรใช้น้ำทุกสัปดาห์เมื่อมะพร้าวโตขึ้นอาจให้น้ำทุก 2 สัปดาห์
ควรเตรียมหลุมปลูกในฤดูแล้ง ขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร แยกดินส่วนบนไว้ต่างหาก ตากลุมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ถ้ามีปลวกให้เผาเศษไม้ ใบไม้แห้งในหลุม หรืออาจใช้ยากันปลวกโรยก้นหลุมก็ได้ ถ้าปลูกมะพร้าวในพื้นที่แห้งแล้งหรือดินที่ปลูกเป็น ทรายจัดให้ใช้กาบมะพร้าวก้นหลุม โดยวางกาบมะพร้าวในด้านที่มีเส้นใยหงายขึ้นข้าง บนวางซ้อนกัน 2-3 ชั้น เพื่อช่วยเก็บความชื้นในดิน ถ้าไม่มีกาบมะพร้าวจะใช้วัสดุอื่น เช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฯลฯ แทนก็ได้ ใส่ดินบนที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1:7 รองก้นหลุมส่วนดินล่างผสมด้วยปุ๋ยฟอสเฟตหลุมละครึ่งกิโลกรัม (ประมาณ 2 กระป๋องนม) เอาดินใส่ลงในหลุมให้เต็ม ทิ้งไว้จนถึงฤดูปลูก

การปลูก

  1. ควรปลูกในฤดูฝน
  2. ขุดดินบนหลุมปลูกที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ ขนาดเท่าผลมะพร้าว
  3. เอาหน่อที่คัดเลือกแล้วมาตัดรากที่หักช้ำออก ใช้ปูนขาวหรือยากันเชื้อราทาตรงรอยตัด วางหน่อลงในหลุม ให้หน่อตั้งตรง หันหน่อไปในทิศทางเดียวกัน
  4. กลบดินอย่างน้อย 2/3 ของผล หรือให้มิดผลมะพร้าวพอดีแต่ระวังอย่า ให้ดินทับโคนหน่อ เพราะจะทำให้หน่อถูกรัด ต้นจะโตช้าแต่เมื่อมะพร้าวโตขึ้นแล้วก็ควรจะกลบ ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันโคนลอย
  5. เอาไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกับต้นให้แน่น เพื่อป้องกันลมโยกเหยียบดินรอบโคนหน่อให้แน่น
  6. ควรทำร่มให้ในระยะแรก เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากถูกแดดจัดเกินไป
  7. ในบริเวณที่ปลูกถ้ามีสัตว์เลี้ยงให้ทำรั้วป้องกันสัตว์มาทำลาย

ธาตุอาหารหลักที่มะพร้าวน้ำหอมต้องการ

ประโยชน์ของมะพร้าวน้ำหอม

  • มะพร้าวเป็นไม้ผลที่ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างและไม่สามารถตัดแต่งได้อีกทั้งมะพร้าวมีรากที่แข็งแรงและแผ่ขยายไปได้ไกล ทำให้ไม่นิยมปลูกในบ้านที่มีบริเวณบ้านน้อยหรือพื้นที่คับแคบ แต่สำหรับบ้านที่มีบริเวณบ้านมากพอก็สามารถปลูกได้ มะพร้าวให้ร่มเงาดี เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นโคนต้นจะโปร่งทำให้สามารถปลูกหญ้าที่บริเวณโคนต้นได้
  • คติความเชื่อ ตามตำราการปลูกต้นไม้ตามทิศในตำราพรหมชาติฉบับหลวง มะพร้าวเป็นไม้มงคลและกำหนดปลูกไว้ทางทิศตะวันออก (บูรพา) ด้วยความเชื่อว่าเมื่อปลูกไว้บริเวณบ้าน จะทำให้ไม่มีการเจ็บไข้ และอยู่เย็นเป็นสุข นิยมปลูกมะพร้าวน้ำหอมหรือมะพร้าวหมูสีเป็นหลัก เพราะออกผลเร็วและใช้รับประทานเป็นมะพร้าวอ่อนได้ดี

สรรพคุณทางยาของมะพร้าวน้ำหอม

  • กะลา นำมาเผาให้เป็นถ่านดำ แล้วนำมาบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา แก้ปวดกระดูกและเส้นเอ็น
  • ดอก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ กล่อมเสมหะ บำรุงโลหิต และแก้ปากเปื่อย
  • ราก รสฝาดหวานหอม เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ หรืออมบ้วนปากแก้เจ็บคอ
  • น้ำมันมะพร้าว รสหวานเค็ม รับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ใช้ทาบำรุงผม หรือทาเป็นยาแก้กลากเกลื้อน ทาผิวหนังแตกแห้ง แก้โรคผิวหนังต่างๆ ทาแผลน้ำร้อนลวก โดยการเอาน้ำมันมะพร้าวมา 1 ส่วน ใส่ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วยจนเข้ากันดีใช้ทาบริเวณแผลบ่อย ๆ
  • น้ำมะพร้าว รับประทานเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้กระหายน้ำ แก้นิ่ว แก้อาเจียนเป็นโลหิตและบวมน้ำ นอกจากนี้ยังทำเป็นน้ำส้มสายชูใช้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าวน้ำหอม

คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด หรือนำมาคั้นเอาน้ำกะทิประกอบอาหารคาวหวานได้หลากหลายชนิด เนื้อมะพร้าวประกอบไปด้วยน้ำมันถึง 60 – 65 % ในน้ำมันมีกรดไขมันหลายชนิด เนื้อมะพร้าวหั่นฝอยใส่น้ำเคี่ยวหรือตากแห้งแล้วเคี่ยวจะได้น้ำมันมะพร้าว

ส่วนน้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารสูง รสหวาน หอม ชุ่มคอ ชื่นใจ ในน้ำมะพร้าวยังมีน้ำตาล โปรตีน โซเดียม แคลเซียม โปแตสเซียม แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเป็นโรคหัวใจ หรือโรคไตก็ไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว

การแปรรูปของมะพร้าวน้ำหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11106&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment