มะม่วงกะล่อน ผลสุกจะไม่เป็นสีเหลือง เนื้อผลด้านในนิ่มมีกลิ่นหอม รสชาติหวาน

มะม่วงกะล่อน

ชื่ออื่นๆ : มะม่วงกะล่อน (ภาคกลาง) มะม่วงเทียน (ประจวบคีรีขันธ์) มะม่วงขี้ใต้ (ภาคใต้) มะม่วงเทพรส (ราชบุรี)

ต้นกำเนิด : พบได้ตามป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้ง

ชื่อสามัญ : มะม่วงป่า  Mango tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera caloneura Kurz

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะของมะม่วงกะล่อน

ต้น ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 20 – 25 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มสูงถึงแผ่กว้าง ต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องเปลือกนอกสีน้ำตาลปนเทา แตกแบบสี่เหลี่ยม เปลือกในสีเหลืองปล่อยทิ้งไว้จะเป็นสีน้ำตาลดำ

ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับหรือเวียนสลับ ใบรูปหอกขอบขนาน โคนมนหรือแหลม ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม กว้าง 3.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 4.5 – 22 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ใบอ่อนสีม่วงแดง

ดอก ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้นคล้ายช่อฉัตร ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยงอย่างละ 5 กลีบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่มีสมบูรณ์เพศ (เกสรฝ่อ) เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์ ติดผลหลังออกดอก

ผล รูปมนหรือป้อม ผลแก่สีเหลืองแกมเขียว ขนาดกว้าง 3-4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม. เนื้อเยื่อบางๆ สีเปลือกของผลสุกจะไม่เป็นสีเหลืองเหมือนมะม่วงพันธุ์อื่นๆ แต่จะยังเป็นสีเขียว แต่เนื้อผลด้านในกลับนิ่มมีกลิ่นหอม รสชาติหวาน ให้ผลช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ใบมะม่วงกะล่อน
ใบมะม่วงกะล่อน ใบรูปหอก ปลายแหลม ใบอ่อนสีม่วงแดง

การขยายพันธุ์ของมะม่วงกะล่อน

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงกะล่อนต้องการ

ประโยชน์ของมะม่วงกะล่อน

  • เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน ทำโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ฝาบ้าน
  • เปลือกด้านในใช้เป็นสีย้อมผ้า
  • ใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ลาบ หรือใส่ยำ
  • ผลดิบและผลสุก สามารถนำมารับประทานได้ มักจะนำข้าวเหนียวนึ่งสอดไส้เข้าไปในลูกมะม่วงสุกและรับประทานเป็นอาหารหลักของมื้อหรือเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ
  • ผลสุก ต้นอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง และต้านความชรา
  • ผลอ่อน มีวิตามินซีป้องกันโรค
ผลมะม่วงกะล่อน
ผลมะม่วงกะล่อน ผลมนป้อม เมื่อสุกผลจะยังเขียว

สรรพคุณทางยาของมะม่วงกะล่อน

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงกะล่อน

การแปรรูปของมะม่วงกะล่อน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11206&SystemType=BEDO
www.adeq.or.th
www.blog.arda.or.th

Add a Comment