มะม่วย ผลนำมาทำให้สุกหรือต้มใช้รับประทานได้ และมีสรรพคุณทางยา

มะม่วย

ชื่ออื่นๆ : มะม่วย (สุรินทร์) มะหน่วย, กะรูวะ (มลายู-นราธิวาส) ม่วยขาว (อุบลราชธานี) มะม่วย (เชียงใหม่) ม่วย (เชียงราย, อุบลราชธานี) แฮนม่วย (เลย) แฮนเครือ, มะเมื่อย, ม่วยเครือ

ต้นกำเนิด : ขึ้นในป่าดิบ ป่าพรุ ที่ราบลุ่มถึงความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 300 ม. พบทั่วทุกภาคของประเทศ

ชื่อสามัญ : เมื่อยขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Gnetum latifolium

ชื่อวงศ์ : Gnetaceae

ลักษณะของมะม่วย

ต้น  ไม้เถาเนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อจะบวมพอง

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเป็นคู่สลับตั้งฉาก ใบรูปขอบขนานแกมรี รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 5-5.5 ซม. ยาว 13-16 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนามัน เส้นใบเป็นแบบขนนกโค้ง เมื่อแห้งใบจะมีสีน้ำตาล เห็นเส้นแขนงใบชัดเจนก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.

ดอก  ดอกออกเป็นช่อตามลำต้น ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกแตกเป็นหลายแขนง ดอกเรียงเป็นชั้น ๆ รอบแกนกลาง ช่อดอกเพศผู้ ยาว 2-5 ซม. มีจำนวนดอก 30-50 แต่ละชั้นมี 6-8 ดอก แต่ละดอกมีกาบรอง 2 อัน ที่เชื่อมติดกันเป็นกระจัง มีแผ่นใบสร้างอับสปอร์เพศผู้ ยาว 3 มม. และมีอับสปอร์เพศผู้ติดต่อ 2 อัน  ช่อดอกเพศเมีย ยาว 5-8 ซม. แต่ละชั้นดอก 6-9 ดอก ดอกยาวประมาณ 4 มม. ปลายดอกเรียวแหลมและชี้ขึ้น

ผล  ผลรูปกลมรี หรือ รูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. เมื่อสุกสีแดง หรือ สีส้มคล้ำ ก้านผลเรียว ยาว 0.5-2 ซม.

เมล็ด เมล็ดแข็ง มีเนื้อหุ้มอยู่ภายนอก

มะม่วย
มะม่วย ไม้เถาเนื้อแข็ง ใบรูปขอบขนานแกมรี เนื้อใบหนามัน

การขยายพันธุ์ของมะม่วย

ใช้ส่วนอื่น

ธาตุอาหารหลักที่มะม่วยต้องการ

ประโยชน์ของมะม่วย

เมล็ดหรือผล นำมาทำให้สุกหรือต้มใช้รับประทานได้

สรรพคุณทางยาของมะม่วย

  • ลำต้น ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
  • ตำรายาไทย  ใช้ เถา รสขื่นเฝื่อน แก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ทำให้แข็งแรง
  • ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย ลำต้นผสมกับลำต้นเถาเอ็นอ่อน ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้บวมพอง ลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยในการอยู่ไฟ

น้ำยางจากเปลือกต้นเป็นพิษ ใช้ทาหัวลูกศรแต่พิษไม่รุนแรงนัก

ผลมะม่วย
ผลมะม่วย กลมรีหรือรูปไข่ ผลดิบสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วย

การแปรรูปของมะม่วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10172&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment