มะยงชิด ผลรูปทรงไข่ ผลสุกนิ่ม รสหวานอมเปรี้ยว

มะยงชิด

ชื่ออื่นๆ : มะยงชิด, มะยง, มะผางกำปอ, มะผาง, มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, ปราง, กาวาง

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวนออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาวและมาเลเซีย

ชื่อสามัญ : Marian plum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouae burmanica Griff.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะมะยงชิด

ต้น มะยงชิด เป็นไม้ผลยืนต้นเมืองร้อน ที่มีลักษณะทรงพุ่มค่อนข้างทึบเป็นทรงแหลมหรือรูปทรงกระบอก แตกกิ่งก้านสาขามากมาย สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เนื่องจากมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-30 เมตร

ใบ มีลักษณะเรียวยาวคล้ายใบมะม่วง มักออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขนาดความกว้างของใบมีประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 14 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว ใบอ่อนมีสีม่วงอมแดงจะแตกออกมาใหม่ประมาณปีละ 1-3 ครั้ง สามารถมองเห็นเส้นใบได้เด่นชัด จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี ไม่มีการผลัดใบ

ดอก มะยงชิดมีดอกสีเหลือง มักออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง มีความยาวของช่อดอกประมาณ 8-15 ซม. ในแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กที่มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก มักผลิดอกในช่วงของเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงไข่ ซึ่งในแต่ละสายพันธุ์จะมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละช่อจะมีผลอยู่ประมาณ 1-15 ผล ผลที่ยังอ่อนอยู่จะเป็นสีเขียวอ่อน มีรสเปรี้ยว และจะกลายเป็นสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มเมื่อสุก เปลือกผลสุกนิ่ม
รสหวานอมเปรี้ยว ให้ผลผลิตในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์-เมษายน

เมล็ด ภายในผลจะมีเมล็ดสีชมพูอมม่วงที่หุ้มด้วยเส้นใยเพียง 1 เมล็ด ลักษณะจะคล้ายกับเมล็ดมะม่วง มีรสฝาดขม

เป็นผลไม้ในตระกูลเดียวกับมะปราง หรือเป็นมะปรางอีกชนิดหนึ่ง ทำให้ลักษณะผลของมะยงชิดจะคล้ายคลึงกับมะปราง
ผลมะยงชิด มีทั้งขนาดเล็ก ปานกลาง และขนาดใหญ่ ตามลักษณะของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป ส่วนรสชาติหากเป็นผลดิบจะออกเปรี้ยว ถ้าผลสุกจะให้รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย หรือบางพันธุ์อาจมีรสหวานน้อย เปรี้ยวมากก็ได้

มะยงชิด
มะยงชิด ผลรูปทรงไข่ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกผลสีเหลืองอมส้ม

การขยายพันธุ์มะยงชิด

การเพาะเมล็ด, การตอน, การทาบกิ่ง,  การตอนกิ่งการติดตา, การเสียบยอด  และการปักชำ

แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการเสียบยอด เนื่องจากจะได้ต้นพันธุ์ตรงตามที่ต้องการ ไม่เหมือนกับวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้มีการกลายพันธุ์ ใช้เวลานานกว่าจะติดดอกออกผล และได้ต้นพันธุ์ที่ไม่มีรากแก้ว

ธาตุอาหารหลักที่มะยงชิดต้องการ

ประโยชน์ของมะยงชิด

  • ปลูกเป็นผลไม้รับประทาน
  • เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผล บำรุงกระดูกและฟัน

สรรพคุณทางยาของมะยงชิด

คุณค่าทางโภชนาการของมะยงชิด

การแปรรูปของมะยงชิด

มะยงชิดลอยแก้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9284&SystemType=BEDO
www.greenery.org
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment