มะระจีน ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลอ่อนนำมาทานเป็นผัก ลดน้ำตาลในเลือด แก้เบาหวาน

มะระจีน

ชื่ออื่นๆ : มะระจีน, มะระ, ผักไฮ, ผักไซ่, ผักไห่, มะร้อยรู, มะไห่, สุพะซู, สุพะเด

ต้นกำเนิด : ทวีป แอฟริกาและทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : Balsam Pear, Bitter Cucumber, Leprosy Gourd, Bitter Gourd

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของมะระจีน

ต้น เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ กว้างยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ใบและลำต้นมีขนสากอยู่ทั่วไป

ดอก ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร

ผล มะระมี 2 ชนิด คือ มะระไทยหรือมะระขี้นก และมะระจีน ซึ่งต่างกันที่ลักษณะและขนาดของผล ผลมะระขี้นก มีขนาดเล็กกว่า ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ส่วนมะระจีนมีขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ ผลมะระทั้งสองชนิดมีรสขม

มะระจีน
เป็นไม้เถา ขอบใบหยัก ผลมีสีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ

การขยายพันธุ์ของมะระจีน

การใช้เมล็ด

การปลูก
ขุดหลุมกว้าง 20-30 เซนติเมตร ลึก 20-25 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 กลบทับด้วยดินบางๆ แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมๆ ละ 3-5 เมล็ด กลบทับด้วยดินหนา ไม่เกิน 1 เซนติเมตร ปักค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยขึ้นค้าง หลังจากที่ต้นกล้ามีใบจริงแล้ว ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น อายุการเก็บเกี่ยวมะระประมาณ 55-60 วัน

ธาตุอาหารหลักที่มะระจีนต้องการ

ประโยชน์ของมะระจีน

ยอดอ่อน ใบอ่อนและผลอ่อน นึ่งหรือลวกให้สุก ทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกปลาร้าหรือน้ำพริกปลาทู

วิธีแก้รสขม หากต้องนำผลแห้ง หรือใบแห้งมารับประทาน ให้เติมใบชาลงไปเล็กน้อย จะช่วยได้

สรรพคุณทางยาของมะระจีน

  • แก้เบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
  • ผลดิบ กินแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้าม อักเสบ
  • ผลสุก ใช้คั้นน้ำทาหน้าแก้สิว เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาเจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อหัวเข่าบวม เป็นยาบำรุงน้ำดี เป็นยาขับพยาธิในท้อง
  • น้ำคั้นของผลมะระ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย บำรุงระดู

คุณค่าทางโภชนาการของมะระจีน

การแปรรูปของมะระจีน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11089&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment