มะรุม ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง

มะรุม

ชื่ออื่นๆ :  กาแน้งเดิง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม, มะค้นอก้อม (ภาคเหนือ) มะรุม (ภาคกลาง,ภาคใต้) เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น

ชื่อสามัญ : Horse radish tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.

ชื่อวงศ์ : MORINGACEAE

ลักษณะของมะรุม

ต้น มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง

ใบ ใบเป็นแบบขนนก หรือคล้ายกับใบมะขามอเรียงแบบสลับกัน ผิวใบสีเขียว ด้านล่างสีจะอ่อนกว่าด้านบน

ดอก ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ

ผล ผลหรือฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เปลือกผล หรือฝักเป็นสีเขียวมีส่วนคอด และส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล

เมล็ด เมล็ดมีเยื่อหุ้มกลมเป็นสีน้ำตาล มีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

มะรุม
มะรุม ใบประกอบแบบขนนก ผิวใบสีเขียว

การขยายพันธุ์ของมะรุม

การเพาะเมล็ด หรือกิ่งตอน

การปลูกส่วนมากจะนิยมเพาะเมล็ดในถุงดำก่อน ก่อนปลูกแกะถุงดำออก นำต้นกล้ามะรุมลงปลูกกลางหลุมกลบดิน รดน้ำ ใช้ไม้ปักมัดด้วยเชือก

ธาตุอาหารหลักที่มะรุมต้องการ

ประโยชน์ของมะรุม

  • ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
  • ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่ว ๆ ไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
  • ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะ ควบคุมได้
  • ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
  • หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
  • ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
  • รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
  • รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
  • รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
  • เป็นยาปฏิชีวนะ
ผลมะรุม
ผลมะรุม ผลหรือฝักมีลักษณะยาว สีเขียว ฝักแก่ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณทางยาของมะรุม

มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

  • ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
  • ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง
  • ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง
  • ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)
  • เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร
  • ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma
เมล็ดมะรุม
เมล็ดมะรุมแห้ง เมล็ดกลม

คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม

  • ใบ ใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามินเอสูง มีแคลเซียมสูงเกือบเท่านม มีธาตุเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามินซีมากพอ ๆ กับส้มและมีโพแตสเซียมเกือบเท่ากล้วย
  • ดอกฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด Helminths ป้องกันมะเร็ง
  • ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม
  • เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร

การแปรรูปของมะรุม

ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง

แกงมะรุม
แกงมะรุมหรือแกงส้มมะรุมใส่กุ้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9622&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.pharmacy.mahidol.ac.th
www.www.dnp.go.th
www.www.youtube.com
www.www.flickr.com

One Comment

Add a Comment