มะเกี๋ยง รับประทานเป็นผลไม้ ให้รสเปรี้ยวอมหวาน

มะเกี๋ยง

ชื่ออื่นๆ : หว้าส้ม และ หว้าน้า

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Sunrose Willow และ Creeping Water Primrose

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium nervosum DC. var. paniala (Roxb)

ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะของมะเกี๋ยง

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ผลัดใบระยะสั้น ทรงพุ่มค่อนข้างกลมหรือ ทรงกระบอก กิ่งเป็นสันโค้งรูปทรงกระบอก เปลือกต้นสีเทาหรือสีน้ำตาล อมเทา ค่อนข้างเรียบ แตกหลุดล่อนเป็นแผ่นบาง

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปมนรี กว้าง 8-12 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง ค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเรียบเกลี้ยง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงอมเขียว ก้านใบยาว 1.5-3 ซม.

ดอก สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ด้านข้างของกิ่ง ช่อดอกยาว 10-14 ซม. ดอกย่อย 30-40 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวอ่อนเชื่อมติดกับฐานรองดอกรูปกรวย กลีบดอก 4 กลีบ รูปซ้อน เกสรเพศผู้สีเหลืองนวลจำนวนมากเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1.4-2 ซม. ออกดอกเดือน กุมภาพันธุ์-พฤษภาคม

ผล ผลสดแบบมีเนื้อนุ่มเมล็ดเดียว รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.9-1.2 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีแดงถึงม่วงแดง หรือ ม่วงดำ รสเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมล็ดมีเนื้อนุ่มห่อหุ้ม เมล็ดรูปรี สีน้ำตาลอ่อน ติดผลเดือน เมษายน-กรกฎาคม

มะเกี๋ยง
มะเกี๋ยง รูปใบหอกหรือรูปมนรี เมื่อสุกสีแดงถึงม่วงแดง
ดอกมะเกี๋ยง
ดอกมะเกี๋ยง สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ด้านข้างของกิ่ง

การขยายพันธุ์ของมะเกี๋ยง

ใช้เมล็ด, ตอนกิ่งหรือปกชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่มะเกี๋ยงต้องการ

ประโยชน์ของมะเกี๋ยง

  • ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ให้รสเปรี้ยวอมหวาน
  • ใบมะเกี๋ยงนำมาต้มเป็นน้ำย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม

สรรพคุณทางยาของมะเกี๋ยง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเกี๋ยง

การแปรรูปของมะเกี๋ยง

ผลมะเกี๋ยงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำมะเกี๋ยง ไวน์มะเกี๋ยง ชามะเกี๋ยง มะเกี๋ยงแช่อิ่ม มะเกี๋ยงดอง เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9588&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment